สอศ. เติมเทคโนโลยีอากาศยานเพื่อการเกษตร ยกระดับอาชีวะเกษตรครบวงจร นำร่องบริหารจัดการฟาร์ม ที่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา คุณหญิง ดร.กัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการการบรูณาการนวัตกรรมอาชีวศึกษาเกษตรสูตรความยั่งยืนภายใต้ BCG โดยกล่าวผ่านเทปบันทึกวิดีทัศน์ โดยมี เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวรายงาน ผู้บริหารสถานศึกษา นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ และบุคลากรอาชีวศึกษา เข้าร่วมการประชุมฯ ระหว่างวันที่ 27 – 28 มีนาคม 2566 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

คุณหญิง ดร.กัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ดิฉันมีความยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการเทคโนโลยีอากาศยานเพื่อการเกษตรสู่การขับเคลื่อนอาชีวศึกษา
(Drone for TVET of THAILAND) ภายใต้ โครงการทดลองนำร่องการบูรณาการนวัตกรรมอาชีวศึกษาเกษตรสู่ความยั่งยืนภายใต้ BCG โมเดล ในวันนี้ เป็นที่ทราบโดยกันดีว่า ปัญหาสำคัญที่โลกจะประสบในอนาคต คือ ปัญหาวิกฤตความสมดุลของพลังงานและอาหาร คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) เป็นโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นวาระแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นมา สาขาเกษตรเป็นหนึ่งในสาขายุทธศาสตร์เป้าหมายที่ต้องเร่งพัฒนาให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น โดยกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในระยะ 5 ปีข้างหน้า โดยมีเป้าหมาย “ปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรของประเทศไทยสู่ 3 สูง คือ ประสิทธิภาพสูงด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมผสานภูมิปัญญา มุ่งยกระดับผลผลิตเกษตรสู่มาตรฐานสูงครอบคลุมทั้งด้านคุณภาพ โภชนาการ ความปลอดภัย และระบบการผลิตที่ยั่งยืน เพื่อเป้าหมายให้การทำการเกษตรเป็นอาชีพที่สร้างรายได้สูง ด้วยการผลิตสินค้าเกษตรที่เน้นความเป็นพรีเมียม มีความหลากหลายและกำหนดราคาขายได้ตามคุณภาพของผลผลิต กระทรวงศึกษาธิการ จึงจำเป็นต้องพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาเกษตร เนื่องจากเป็นอาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทย คือ อาชีพเกษตรกรรม

เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาเกษตร เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนภาคเกษตรให้สามารถรองรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของสังคมโลก โดยพัฒนาศักยภาพของสถานศึกษาประเภทวิชาเกษตรและประมง โดยการจัดทำโครงการทดลองนำร่องการบูรณาการนวัตกรรมอาชีวศึกษาเกษตรสู่ความยั่งยืนภายใต้ BCG โมเดล และต้องขอขอบคุณสถานประกอบการที่ให้การสนับสนุนเทคโนโลยีเกษตรในอนาคต ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาอาชีวศึกษาเกษตรในอนาคต

ด้าน เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า ตามนโยบายเร่งด่วนของ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา คือ การปฎิรูปกลุ่มวิทยาลัยเกษตรและประมงให้เป็นรูปธรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพเกษตรเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนระดับฝีมือ เทคนิค และเทคโนโลยีเกษตร ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และตามความต้องการของตลาดแรงงาน จึงได้กำหนดนโยบายเร่งด่วน (Quick Win) อันหนึ่ง คือ การปฏิรูปกลุ่มวิทยาลัยเกษตรและประมง การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาเกษตร เป็นกลไกที่สำคัญยิ่ง ในการผลิตและพัฒนากำลังคนภาคเกษตรให้สามารถรองรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของสังคมโลก

ซึ่งในการดำเนินการเพื่อพัฒนาศักยภาพของสถานศึกษาเกษตรนั้น แนวทางใหม่อันหนึ่ง คือ การบูรณาการนวัตกรรมอาชีวศึกษาเกษตรสู่ความยั่งยืน ภายใต้ BCG โมเดล โดยจะดำเนินการโครงการทดลองนำร่องผ่านกระบวนการการบริหารจัดการฟาร์ม ภายใต้ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการส่งเสริมผลิตผลในสถานศึกษา พ.ศ. 2559 ตามโครงการทดลองนำร่องการบูรณาการนวัตกรรมอาชีวศึกษาเกษตรสู่ความยั่งยืน ภายใต้ BCG โมเดล ประกอบด้วย กิจกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการฟาร์มในสถานศึกษานำร่อง จำนวน 1 แห่ง ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยี การใช้โดรนเพื่อการเกษตร และ Handy Sense IOT ให้กับครูผู้สอน และนักศึกษา รวมถึงการวางแผนพัฒนาการจัดการฟาร์ม โดยผ่านกลไกการวิจัยและพัฒนา ซึ่งดำเนินการเป็นแบบผสมผสาน คือ ในพื้นที่ (Onsite) โดยผู้เข้าร่วมประชุมจากสถานศึกษา จำนวน 2 คนต่อสถานศึกษา ประเภทวิชาเกษตรกรรมและประมง จำนวน 51 แห่ง รวม จำนวน 102 คน และแบบออนไลน์ ผ่านช่องทาง R Channel และระบบ zoom รวมทั้งสิ้นประมาณ 450 คน และการทดลองขับเคลื่อนการส่งเสริมผลผลิตในสถานศึกษา โดยพัฒนาระเบียบการบริหารจัดการธุรกิจฟาร์ม ภายใต้ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง

RANDOM

NEWS

error: Content is protected !!