บอร์ดกองทุนกีฬา เจ้าของเงิน “ไม่ทน” หลัง นักกีฬาคนพิการชุดอาเซียนพาราเกมส์ เจอปัญหาที่ไม่ควรเกิดขึ้น จึงมีมติตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง กับผู้จัดการ การเช่าเหมาลำเครื่องบิน เพื่อหาบทสรุปตอบ “ข้อกังขา”

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

   จากกรณีที่มีปัญหาของนักกีฬาคนพิการของไทย ที่เดินทางจากประเทศไทยไปกัมพูชา เมื่อวันที่ 31 พ.ค.2566 เพื่อร่วมการแข่งขันกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ครั้งที่ 12 ณ กรุงพนมเปญ มีปัญหาเรื่องไม่สามารถของการขนอุปกรณ์และกระเป๋าส่วนตัวของนักกีฬา ไปพร้อมกับนักกีฬาได้ ซึ่งกว่าของจะเดินทางไปถึงก็ต้องขนไปต่างหากและนำส่งในเช้าวันที่ 1 มิ.ย.2566 และกลายเป็นเรื่องที่ วิพากษ์วิจารณ์ ถึงการดำเนินงานของฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการอำนวยความสะดวกต่อนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากประเทศไทย และ Station THAI ได้นำเสนอการชี้แจงของ พลตรีโอสถ ภาวิไล เลขาธิการคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย ที่เป็นผู้ดูแลในการจัดการเรื่องนี้ไปแล้ว

   แต่ในกรณีนี้ยังไม่จบอยู่ที่การชี้แจงและการแก้ไขที่ผ่านไปแล้ว โดยผู้สื่อข่าวได้รายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ หรือบอร์ดกองทุนกีฬา เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2566 ที่ผ่านมา ที่มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานกรรมการบอร์ดกองทุนกีฬา เป็นประธาน ได้มีการนำเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เข้าไปหารือ เนื่องจากว่าเงินสนับสนุนการดำเนินงานทั้งหมดนั้นมาจากกองทุนกีฬา

   โดยที่ประชุมที่มีตัวแทน “กลุ่มกีฬาคนพิการ” ร่วมด้วย พร้อมทั้ง ฟังการชี้แจงต่าง ๆ จากการกีฬาแห่งประเทศไทย ที่เกี่ยวข้องในการดูแลการตัดสินใจจากที่ได้มอบหมายให้คณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งสรุปว่ามีข้อกังขา ในการดำเนินการของคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย โดยพลตรีโอสถ ภาวิไล เลขาธิการคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย จากการที่อ้างอิงถึงการเลือกบริษัทที่นำเสนอราคามาประหยัดกว่าการบินไทย เช่นเครื่องบินที่จะนำมานั้นจะมีการบริการ อาหาร เครื่องดื่มที่ให้ดีกว่า หรือให้น้ำหนักสัมภาระมากกว่า จึงได้เลือกตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเหมาะสม ถูกต้องตามกระบวนการ แต่กรรมการบอร์ดกองทุนกีฬา มองว่าเรื่องการจัดจ้างนั้นไม่มีปัญหา แต่เมื่อมองในมิติต่าง ๆ ตามกรอบวงเงินที่มีแล้วนั้น ข้อเสนอของการบินไทยแม้ว่าจะมีราคาที่เสนอสูงกว่า แต่จะมีการบริการที่คล่องตัว เช่นอาเซียนพาราเกมส์ครั้งที่ผ่านมาใช้การบินไทยก็ไม่ได้มีปัญหาทั้งที่บินไกลกว่า เพราะตัวเครื่องบินที่ใหญ่กว่า การดูแลที่เป็นมืออาชีพมากกว่า ที่เป้าหมายของการเช่าเหมาลำคือการบริการนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ของไทยให้ดีที่สุด ไร้ปัญหามากที่สุด และยังมีข้ออื่น ๆ ที่กรรมการบางท่านยังไม่เข้าใจ เช่นในประสบการณ์ต่าง ๆ ของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้บริการเครื่องบินเหมาลำต้องรู้อย่างชัดเจนว่า การรองรับหรือบริการที่จำเป็นด้านใดบ้างที่เป็นประโยชน์ต่อทีมกีฬา ฉะนั้นจึงเป็นที่น่าแปลกใจที่ปัญหา เช่น การให้ผู้ที่รับงานเลือกใช้เครื่องบินขนาดเล็กหรือกลางจากสายการบินต้นทุนต่ำซึ่งไม่สะดวก ต้องบินหลายเที่ยว เพื่อส่งคนส่งของ หรือ เรื่องจัดการด้านการขนอุปกรณ์ เรื่องน้ำหนัก และ การผิดพลาดในการประสานงานต่างๆ ระหว่างสายการบินกับสนามบินปลายทาง เกิดขึ้นได้อย่างไร

   ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติ ให้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงในการดำเนินการของคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทยต่อกรณีดังกล่าว เพื่อที่จะได้ตอบข้อข้องใจของบอร์ดกองทุนกีฬา เพื่อพิจารณาด้านต่าง ๆ จากผลการสอบข้อเท็จจริงต่อไป.

RANDOM

“อบจ.ภูเก็ต” หนุนจัดงานมหกรรมศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเอกลักษณ์ไทย สู่นานาชาติ ครั้งที่ 6 และการไหว้ครูมวยไทยโลก ระหว่างวันที่ 10-17 มี.ค.นี้ มีนักกีฬา 1,200 คน จาก 50 ประเทศ เข้าร่วม

เปิดรับสมัคร! “ทุนมูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ เพื่อผู้เรียนดีมีศักยภาพเป็นเลิศ” (Ajinomoto Talent Scholarship) ประจำปี 2566 ด้านวิทยาศาสตร์ – วิศวกรรมศาสตร์ สาขาอาหาร โภชนาการ สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ยื่นใบสมัครได้ ถึง 22 ม.ค. 67

NEWS

อาจารย์วิศวฯ จุฬา เผย ‘โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์’ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด เป็นพลังงานสะอาด ช่วยโลกลดการปลดปล่อยก๊าซ CO2 จากกระบวนการผลิตไฟฟ้า เพื่อก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ของประเทศ

error: Content is protected !!