ตอนที่ 11 : การกีฬากับยิมนาสติก : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

การกีฬากับยิมนาสติก

            คูเบอร์แต็งเข้าร่วมประชุมสภาเพื่อการอบรมพลศึกษาในเมืองบอสตัน ค..1889 ในนามของกระทรวงการศึกษาฝรั่งเศสซึ่งทำให้ท่านเกิดความคุ้นเคยกับอเมริกาเหนือเป็นครั้งแรก โดยความประทับใจต่อทวีปนี้จะคงอยู่กับท่านตลอดชีวิต การบรรยายของท่านในเมืองนี้กล่าวถึงการสำรวจขนาดย่อมของสถานการณ์การพลศึกษาในทวีปยุโรป อย่างไรก็ตาม คูเบอร์แต็ง กล่าวเน้นย้ำถึงตัวตนและผลงานของโทมัส อาร์โนลด์ซึ่งท่านให้ความเคารพอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ท่านยังรายงานเกี่ยวกับการประชุมสภาการพลศึกษาใน ค..1889 ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับงานแสดงสินค้าโลกในกรุงปารีสของปีนั้นด้วย เนื้อหาด้านล่างนี้มีความสำคัญเป็นพิเศษต่อผู้อ่านเนื่องเพราะคูเบอร์แต็งเป็นผู้แต่งเอง จึงแสดงให้เห็นถึงพรสวรรค์ด้านภาษาอังกฤษของท่าน

            เรียน ท่านประธาน สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ

            ข้าพเจ้าขอบคุณทุกท่านสำหรับการต้อนรับที่แสนอบอุ่นด้วยการปรบมือของท่าน ข้าพเจ้าไม่ขอรับไว้กับตนเอง แต่ในนามของฝรั่งเศสซึ่งเป็นพี่น้องของประเทศท่านทั้งหลาย ดร.แฮร์ริส กรุณาแจ้งว่าท่านมีความสนใจในสิ่งที่จะกล่าวแต่ก็ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยนัก โดยข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า คงเป็นผลของความกล้าหาญในการตอบรับคำเชิญนี้แก่ท่านมากกว่าจะเป็นความเห็นที่ไม่น่าสนใจของพวกเราชาวฝรั่งเศสที่พูดภาษาอังกฤษ และอาจเป็นความเห็นที่ไม่เหมาะสมเท่าไรในการปฏิบัติภารกิจของพวกเรา ซึ่งการได้รับมอบหมายจากรัฐบาลฝรั่งเศสในการเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่างๆของประเทศนี้ที่ไม่เพียงเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาการออกกำลังกายแต่รวมทุกสาขาวิชาอื่นด้วยนั้น ภารกิจของข้าพเจ้าคือการนำเสนอรายงานทั้งหลายของข้าพเจ้าในรูปแบบเอกสารราชการของเรื่องดังกล่าว แต่จากสิ่งที่ข้าพเจ้าสอบถามไป ทำให้ข้าพเจ้าทราบว่า รัฐมนตรีกระทรวงการศึกษาฝรั่งเศสไม่ได้อยู่ที่นี่ในวันนี้โดยข้าพเจ้าเชื่อว่าท่านจะกรุณาที่จะไม่บอกให้เขาทราบถึงสิ่งที่ข้าพเจ้ากำลังจะลงมือทำในเมืองบอสตันแห่งนี้!

            หลายวันก่อน ข้าพเจ้าถูกขอให้แสดงความเห็นเกี่ยวกับระบบการศึกษาอเมริกา โดยได้ตอบว่า ในบางมุมแล้ว เสมือนเป็นสมรภูมิสู้รบระหว่างแนวคิดอังกฤษกับเยอรมนี ซึ่งข้าพเจ้าตระหนักเป็นอย่างดีถึงการไร้คำปฏิเสธต่อระบบเยอรมนีในประเด็นร่างกาย แต่ในอีกทางหนึ่ง ข้าพเจ้าก็เชื่อว่า ไม่มีระบบอื่นใดและหากจะมี ที่จะเหนือไปกว่าระบบการกีฬาอังกฤษในด้านจริยธรรมและสังคมซึ่งได้รับความเข้าใจและอธิบายโดยครูสมัยใหม่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดกล่าวคือ โทมัส อาร์โนลด์ แห่งโรงเรียนรักบี้ หลักการต่างๆของท่านได้รับการนำไปปฏิบัติโดยสมาคมการปฏิรูปการศึกษาฝรั่งเศสเมื่อปีกลาย ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะพรรณนารายละเอียดการดำเนินงานของงานสมาคมของพวกเรา ซึ่งไม่มีอะไรน้อยไปกว่าการปฏิรูปทั้งหมดของมัธยมศึกษาตอนปลาย พวกเราไม่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนประถมศึกษาที่รัฐบาลของพวกเราได้จัดการก่อนหน้าในแนวทางดีที่สุดตามความเห็นของข้าพเจ้า ในโรงเรียนเหล่านี้ หลักสูตรการออกกำลังกายที่เป็นระบบคือสิ่งจำเป็นและการทดลองที่ดำเนินการในฝรั่งเศสประสบผลสำเร็จงดงามจนไม่มีเหตุใดที่พวกเราจะทดลองในรูปแบบอื่นอีก ระบบเยอรมนีกำลังได้รับการปรับใช้ในโรงเรียนประถมศึกษาทุกแห่งของพวกเราและกลายเป็นข้อกำหนดทั่วไป นอกจากนี้ พวกเราไม่แตะต้องเรื่องอุดมศึกษาเนื่องด้วยเหตุเบื้องต้นว่า หากพวกเราจะต้องการคนที่ฝึกตนมาอย่างดีซึ่งสนุกสนานกับเกมและกีฬาชั้นเลิศแล้ว วิธีการที่ดีและเร็วสุดที่จะสมปรารถนาคือการฝึกหัดเด็กที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่พร้อมการบ่มเพาะให้พวกเขาเกิดค่านิยมต่อเกมชั้นเลิศ

            พวกเราเชื่อว่า ระยะเวลาที่สำคัญสุดของการศึกษาสำหรับเด็กคือช่วงเวลาตั้งแต่อายุสิบสองถึงสิบเก้าปี ในช่วงดังกล่าวนี้ ไม่เพียงสมองและร่างกาย แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือจิตวิญญาณของพวกเขาที่จะได้รับการฝึกหัด คุณลักษณะความเป็นพลเมืองจะขึ้นอยู่กับบทเรียนที่พวกเขาได้รับในช่วงต้นชีวิตของพวกเขาเกือบทั้งสิ้น ข้าพเจ้าต้องย้ำถึงพลเมืองที่ต้องการของพวกเราในฝรั่งเศส ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าแบบอุดมคติของพวกเราจะเหมือนของท่านหรือไม่ แต่ก็คาดว่าจะไม่แตกต่างกันเท่าไรนัก พวกเราต้องการเสรีภาพชนผู้จัดการตนเองได้และจะไม่มองรัฐเหมือนเด็กทารกมองหามารดาของเขารวมทั้งไม่เกรงที่จะค้นหาทางเดินของตนเองตลอดชีวิต สิ่งนี้คืองานที่สมาคมพวกเราคอยชี้แจงต่อครูฝรั่งเศสว่า เป็นส่วนสำคัญสุดในภารกิจของพวกเขาซึ่งเกี่ยวข้องในทางปฏิบัติต่อสิ่งที่ข้าพเจ้าเรียกขานว่า การฝึกฝนเพื่อเสรีภาพ

            ปัจจุบัน ที่ใดคือสถานที่เพื่อการฝึกฝนนี้? เสรีภาพที่เด็กอายุสิบห้าจะมีได้คืออะไร? ใช่เสรีภาพทางปัญญาหรือไม่? จะทำสิ่งนี้ให้เป็นจริงได้อย่างไร? ข้าพเจ้าเชื่อว่า หากเด็กคนหนึ่งถูกปล่อยไปตามใจตนเองแล้ว เขาจะไม่เรียนรู้อะไรเลย เขาจะละทิ้งภาษาลาติน กรีก ประวัติศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยจะมัวอ่านแต่นิยายในวันฝนตก การเล่นของเขาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตที่เขาจะสนุกสนานอย่างไร้กรอบจำกัด ขอให้เขาจัดการเกมของตนเอง ผลที่ท่านจะได้รับคือการสร้างคนที่เหมาะสมยิ่งกับชีวิตสังคมซึ่งตราบที่ท่านพิจารณาสังคมว่าเป็นการอยู่ร่วมกันของเสรีภาพชน ทั้งนี้ บางคนอาจไม่เห็นเช่นนั้นและก็เป็นเรื่องปรกติที่พวกเขาจะมีเป้าหมายอื่นสำหรับการศึกษา แต่พวกเราเห็นเช่นนั้นและถือเป็นเป้าหมายของพวกเรา

            ณ เวลานี้ ระบบอังกฤษที่เป็นการกีฬาสมัครเล่นจะสามารถดำเนินการไปพร้อมกับระบบยิมนาสติกได้หรือไม่? ข้าพเจ้าเชื่อว่า จะสามารถทำได้ในระดับหนึ่งตราบที่ท่านจะไม่ทำให้เป็นหลักสูตรบังคับและไม่แทรกแซงการจัดการสโมสรและสมาคมกีฬาต่างๆ

            ข้าพเจ้าขอย้ำให้ท่านไม่ลืมในข้อเท็จจริงว่า ข้าพเจ้าไม่ได้พูดถึงโรงเรียนรัฐหรือมหาวิทยาลัย ข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องกล่าวว่า ตนเองเกิดความสนใจเป็นอย่างยิ่งกับสิ่งที่ข้าพเจ้าพบเจอในประเทศนี้ไม่ว่าจะเป็นที่แอมเฮิร์ส ฮาร์วาร์ด คอร์เนลล์ และที่อื่น กิจกรรมซึ่งประสบผลสำเร็จดีที่นั่นจะต้องเป็นสิ่งดีอย่างแน่นอน คุณประโยชน์อาจพิจารณาได้จากสิ่งที่บุคลากรเช่น ดร.ฮิตช์ค็อกที่แอมเฮิร์ส ดร.ซารเจนต์ที่ฮาร์วาร์ด และดร.ฮารต์เวลล์ที่จอห์นฮ็อบกินส์ มีความเชื่อมั่นและนำไปปฏิบัติด้วยตนเอง ข้าพเจ้ากล่าวถึงแต่เพียงโรงเรียนที่เด็กชายอายุสิบสองถึงสิบเก้าปีเข้าเรียนเท่านั้น โรงเรียนเหล่านี้ก็เหมือนกับโรงเรียนฝรั่งเศสของพวกเราและวิทยาลัยในอังกฤษรวมทั้งโรงเรียนที่เพิ่งก่อตั้งในประเทศนี้ ตัวอย่างเช่น โรงเรียนโกรตัน โรงเรียนลอร์เร็นซ์วิลล์ โรงเรียนเบิร์กเลย์ และอื่นๆที่แนวคิดของอาร์โนลด์ได้รับการปฏิบัติ ท่านใดก็ตามที่ได้อ่านหนังสือ “Life and Correspondence of Arnold” ของสแตนเลย์หรือหนังสือน่าอ่าน “Tom Brown’s School-days” แล้ว คงจะทราบดีถึงคุโณปการของอาร์โนลด์ที่มีประเทศของท่าน แต่ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงยิ่งใหญ่จนเมื่อปีกลายที่ มร.แกล็ดสโตน ได้บอกกล่าวในเรื่องต่างๆเมื่อท่านเป็นนักเรียนอีตันเมื่อหกสิบห้าปีก่อนซึ่งมาตรฐานจริยธรรมอยู่ในระดับต่ำมาก เหล่าเด็กชายเล่นกีฬาแต่เป็นไปด้วยความโหดร้าย การทรมาน การรับใช้ และการเล่นนอกลู่นอกทางทุกชนิดเกิดขึ้นทุกวัน ครูใหญ่และนักเรียนต่างมองหน้ากันเสมือนหากไม่ใช่ศัตรูก็เป็นคนแปลกหน้า ภายในห้าปีหลังจากการปรากฏตัวของอาร์โนลด์ โรงเรียนรักบี้ได้เปลี่ยนรูปแปลงร่างและการปฏิรูปนี้ก็แพร่กระจายไปทั่วอังกฤษ สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อห้าสิบปีที่ผ่านมาและหากท่านติดตามเหตุการณ์ทางการเมือง สังคมและจริยธรรมของอังกฤษในช่วงห้าสิบปีหลัง ก็จะพบดังที่ข้าพเจ้าไม่สงสัยแม้แต่น้อยว่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นโดยฉับพลันและกว้างขวางในทางการเมืองและสภาพสังคมเช่นกัน ข้าพเจ้าหวังจะให้รายละเอียดมากกว่านี้ เหมือนข้าพเจ้ากำลังเขียนหนังสือเรื่องนี้อยู่ แต่สิ่งเดียวที่ข้าพเจ้าจะกล่าวคือ การปฏิรูปการศึกษาที่ดำเนินการโดยอาร์โนลด์และผู้เห็นด้วยกับท่านนั้นคือหนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญสุดต่อชีวิตของชาวอังกฤษ และการปฏิรูปนี้นำไปสู่ช่วงแห่งความรุ่งโรจน์ที่เรียกว่า ยุควิคตอเรีย โดยคุณลักษณะสำคัญสุดคือผลกระทบของการกีฬาที่มีต่อคุณลักษณะทางจริยธรรมและสังคมของเด็กชายทั้งหลาย

            ในระหว่างงานแสดงสินค้าโลกช่วงฤดูร้อนนี้ พวกเราจัดการประชุมในกรุงปารีสจำนวนมากจนกระทั่ง “Figaro” เสนอให้รางวัลแก่ผู้คนที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมหนึ่งใดหากจะหาคนผู้นี้ได้ ในบรรดาหัวข้อต่างๆนั้น พวกเราจัดให้มีหัวข้อการศึกษาซึ่งข้าพเจ้าได้รับเกียรติให้ทำหน้าที่เลขานุการ ในช่วงต้นเดือนมกราคม พวกเราจัดทำจดหมายเวียนและส่งไปยังครูใหญ่ของโรงเรียนอังกฤษทั่วทุกมุมโลก โดยจัดส่งไปจำนวนหกพันฉบับและพวกเราก็ได้รับคืนจำนวนมากจากทั้งเคป โคโลนี ออสเตรเลีย อเมริกา ดินแดนอังกฤษในจีน และแคนาดา ที่ตอบคำถามเหล่านี้เช่น เกมอะไรที่เล่นในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยของท่าน? หากมีเกมท้องถิ่น ให้อธิบายกติกาหลัก เด็กเล่นกี่ชั่วโมงในหนึ่งวัน? หนึ่งสัปดาห์? มีการขี่ม้า ฟันดาบ การฝึกทหาร และเรือพายหรือไม่? พวกเด็กได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสมาคมกีฬาหรือไม่? พวกเด็กมีสมาคมโต้วาทีหรือไม่? ท่านเชื่อว่าการกีฬาช่วยพัฒนาการอยู่ร่วมกัน จริยธรรม การเรียน อารมณ์ หรือไม่? ข้าพเจ้าได้ขอรับรายการบันทึก หนังสือ แผ่นพับและรายงานโรงเรียนและสิ่งพิมพ์ต่างๆด้วยความขอบคุณ โดยพวกเราได้รับสิ่งเหล่านี้จำนวนมากจนต้องจัดเก็บในห้องสมุด

            ข้อมูลนี้แสดงแก่พวกเราว่า ชาวอังกฤษทั่วโลกซึ่งอาจจะรู้น้อยมากเกี่ยวกับอารโนลด์ แต่ก็เชื่อมั่นในวิจารณญาณและความคิดเห็นของท่านว่า เป็นสิ่งดีที่สุด ขณะนี้ที่ฝรั่งเศส พวกเรากำลังนำเสนอการปฏิรูปในแบบเดียวกันนี้ตามหลักปฏิบัติที่อาจไม่ใช่คริสต์กล่าวคือ เมื่อท่านเห็นเพื่อนบ้านทำสิ่งใดที่ดี จงทำตาม.

RANDOM

มูลนิธิบัญชา-สุรัติ ภาณุประภา ให้ทุนการศึกษา ประจำปี 2567 แก่นักเรียน นักศึกษา ที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ทุกระดับชั้น ตั้งแต่อนุบาลจนถึงปริญญาตรี สนใจสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ – 30 เมษายน 2567

error: Content is protected !!