Day: September 5, 2023

ด่วน! สำนักทะเบียนฯ มช. เปิดรับสมัคร “นักจัดการงานทั่วไป” สังกัด งานบริหารทั่วไป หมดเขตรับสมัคร 8 ก.ย.นี้

สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดรับสมัครคัดเลือกพนักงานมหาวิทยาลัยชั่วคราว (พนักงานส่วนงาน) ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไป จำนวน 1 อัตรา สังกัด งานบริหารทั่วไป สำนักงานสำนัก อัตราค่าจ้าง เดือนละ 20,250 บาท หมดเขตรับสมัคร 8 ก.ย. 66 โดยมีรายละเอียดดังนี้ คุณสมบัติของผู้สมัคร 1. ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไป ตามข้อ 6 แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2553 2. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีทางการศึกษา วารสารศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ นิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชน มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ สถิติ บริหารธุรกิจ สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และ นิติศาสตร์ 3. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถผลิตเนื้อหาเพื่อการสื่อสาร สร้างความเข้าใจ 4. มีความสามารถในการเขียนบทความ …

ด่วน! สำนักทะเบียนฯ มช. เปิดรับสมัคร “นักจัดการงานทั่วไป” สังกัด งานบริหารทั่วไป หมดเขตรับสมัคร 8 ก.ย.นี้ Read More »

สอศ. ร่วมมือ เดนมาร์ก อัพเลเวลครูเกษตร ส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างอาชีวะเกษตรคุณภาพรุ่นใหม่

เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้จัดโครงการส่งเสริมความร่วมมือและพัฒนาศักยภาพของสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรของไทยทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม กับ เดนมาร์ก ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สอศ. และ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร และงานฟาร์ม ระหว่าง ไทย กับ เดนมาร์ก ให้กับครู อาจารย์ และบุคลากร จำนวน 60 คน จาก สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรทั้ง 4 ภาค ระหว่างวันที่ 4 – 5 กันยายน 2566 ณ โรงแรมสยามธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายณรงค์ชัย เจริญรุจิทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือ กล่าวว่า การดำเนินโครงการส่งเสริมความร่วมมือและพัฒนาศักยภาพของสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรของไทยทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม กับ เดนมาร์ก มี Mr. Niels Erik Jespersen (ผู้เชี่ยวชาญการจัดการฟาร์มวัว) …

สอศ. ร่วมมือ เดนมาร์ก อัพเลเวลครูเกษตร ส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างอาชีวะเกษตรคุณภาพรุ่นใหม่ Read More »

สถาปัตย์ สจล. สานฝันคนไทยหัวใจ EV เปิดหลักสูตรออกแบบยานยนต์ไฟฟ้า ยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผลิตกำลังคนสมรรถนะสูง ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืน

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดย คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ ตอบรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เปิดหลักสูตร “การออกแบบยานยนต์ไฟฟ้า สจล. แบบ Non-Degree” เสริมแกร่งงานวิจัยพัฒนาและการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย ผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืน รศ. ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า เราอยู่ในยุคของการเปลี่ยนผ่านจากยานยนต์เชื้อเพลิงสันดาปมาเป็นยานยนต์ไฟฟ้า สจล. โดย คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ ได้พัฒนาหลักสูตรการออกแบบยานยนต์ไฟฟ้า แบบ Non-Degree สอดรับกับเทรนด์ทั่วโลก ซึ่งให้ความสำคัญกับพลังงานสะอาด และวิกฤตการณ์อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้านับเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตและเทคโนโลยีที่สำคัญ หากแต่ความสนใจเรื่องการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยยังไม่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่ หรือ ในระดับอุตสาหกรรมเพื่อการพาณิชย์ ซึ่ง ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’ เป็นเป้าหมายเร่งด่วนของการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ตามยุทธศาสตร์ชาติที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจนวัตกรรมและเทคโนโลยีของประเทศ “หลักสูตรออกแบบยานยนต์ไฟฟ้าแบบ Non-Degree” ของ สจล. มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะและเพิ่มประสิทธิภาพแก่ผู้เรียน โดยจะเปิดรับผู้สนใจรุ่นละ 50 คน แต่ละรุ่นจะมีผู้เรียนจากหลากหลายสาขาอาชีพ อาทิ วิศวกร นักออกแบบ นักเรียนมัธยม นักศึกษา ผู้ประกอบการ นักการตลาด …

สถาปัตย์ สจล. สานฝันคนไทยหัวใจ EV เปิดหลักสูตรออกแบบยานยนต์ไฟฟ้า ยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผลิตกำลังคนสมรรถนะสูง ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืน Read More »

อาจารย์จิตวิทยา จุฬาฯ ชวนรู้จัก “ภาวะสิ้นยินดี” อาการร่วมผู้มีภาวะซึมเศร้า พร้อมแนะวิธีสังเกต เติมความรู้สึกบวกได้ทัน ก่อนหมดความสุขและสนุกกับชีวิต

อาจารย์จิตวิทยา จุฬาฯ ชวนรู้จัก “ภาวะสิ้นยินดี” อาการร่วมที่พบบ่อยในผู้มีภาวะซึมเศร้า พร้อมแนะวิธีสังเกตสัญญาณหมดสุข เพื่อปรับโฟกัสใจและเติมความรู้สึกบวกได้ทัน ก่อนสูญความสามารถที่จะสุขและสนุกกับชีวิต . . ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ รองคณบดี และอาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชวนทำความรู้จักและสังเกตอาการที่สะท้อนความเสี่ยงเป็น “ภาวะสิ้นยินดี” (Anhedonia) เพื่อรับการปรึกษาจากนักจิตวิทยา ก่อนที่ความสามารถในการมี “ความสุข” จะหายไป . “เป็นธรรมชาติของคนเราที่ต้องมีอารมณ์ความรู้สึก โดยเฉพาะการรับรู้ หรือ ได้รับความรู้สึกเชิงบวก เช่น สบายใจ แช่มชื่นใจ ทั้งที่มาจากตัวเอง หรือ มาจากการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น แต่เมื่อไรที่เรามี “ภาวะสิ้นยินดี” เราจะรู้สึกเหนื่อย เนือย ไม่มีความรู้สึกเชิงบวกใด ๆ ไม่ว่ากับอะไร หรือ กับความสัมพันธ์ใด” . . ภาวะสิ้นยินดีเกิดขึ้นได้อย่างไร  . “ภาวะสิ้นยินดี” เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ ที่ทำให้เจ้าต้วไม่รู้สึกรู้สากับอารมณ์ความรู้สึกเชิงบวก ทั้งนี้ ภาวะดังกล่าวเกิดได้จากหลายปัจจัย กล่าวคือ . …

อาจารย์จิตวิทยา จุฬาฯ ชวนรู้จัก “ภาวะสิ้นยินดี” อาการร่วมผู้มีภาวะซึมเศร้า พร้อมแนะวิธีสังเกต เติมความรู้สึกบวกได้ทัน ก่อนหมดความสุขและสนุกกับชีวิต Read More »

ว.การแพทย์แผนตะวันออก ม.รังสิต เปิดหลักสูตรบูรณาการภูมิปัญญาการจับชีพจรเพื่อวิเคราะห์โรค รวมผู้เชี่ยวชาญมากที่สุดครบทุกแขนง

วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดหลักสูตรบูรณาการภูมิปัญญาการจับชีพจรเพื่อวิเคราะห์โรค รวมผู้เชี่ยวชาญมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ . อาจารย์ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยเกี่ยวกับหลักสูตรบูรณาการภูมิปัญญาการจับชีพจรเพื่อวิเคราะห์โรค ว่า หลักสูตรล่าสุดของ วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ชื่อ “หลักสูตรบูรณาการภูมิปัญญาการจับชีพจรเพื่อวิเคราะห์โรค” เหมาะกับผู้ที่สนใจในแพทย์บูรณาการและสุขภาพองค์รวม ประชาชนทั่วไปที่สนใจด้านสุขภาพเพื่อประโยชน์ของตนเองและครอบครัว . นอกจากนั้น ยังรวมถึงผู้ทำธุรกิจด้านสุขภาพหลายมิติ เช่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพิ่มศักยภาพของตัวเอง ผู้ประกอบการเวลเนส ผู้ประกอบการโรงแรมเพื่อสุขภาพ พยาบาล นักการตลาดและนักขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ เภสัชกร นักการตลาดและนักการขายในสถานบริการสุขภาพ ผู้ประกอบการศูนย์ดูแลผู้สูงวัย และรวมถึงผู้ขายประกันสุขภาพและประกันชีวิต และยังรวมถึงการจับชีพจรวิเคราะห์โรคสัตว์เลี้ยงในบ้านด้วย . หลักสูตรนี้ไม่เพียงแต่จะศึกษาการจับชีพจรของหลายศาสตร์ เช่น การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน การแพทย์อายุรเวทอินเดีย การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์ทางเลือก และ สัตวแพทย์ แต่จะต้องสามารถบูรณาการและเปรียบเทียบข้ามศาสตร์กันได้ด้วย . โดย วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รวบรวมอาจารย์และผู้บรรยายที่มีความรู้ข้ามศาสตร์ และมีประสบการณ์ในการจับชีพจรในวงการสุขภาพไทยมารวมตัวกันในหลักสูตรนี้ ตัวอย่างเช่น อาจารย์ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่าตัดเส้นประสาทที่เป็นแพทย์แผนไทยในคนเดียวกัน อาจารย์แพทย์แผนปัจจุบันที่เป็นแพทย์แผนจีนในคนเดียวกัน อาจารย์แพทย์แผนปัจจุบันที่จบจากเยอรมัน ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการแพทย์ทางเลือกที่ก้าวหน้าที่สุดในโลกตะวันตก …

ว.การแพทย์แผนตะวันออก ม.รังสิต เปิดหลักสูตรบูรณาการภูมิปัญญาการจับชีพจรเพื่อวิเคราะห์โรค รวมผู้เชี่ยวชาญมากที่สุดครบทุกแขนง Read More »

error: Content is protected !!