ตอนที่ 33 : การกีฬากับประเด็นสังคม : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

การกีฬากับประเด็นสังคม             การประชุมสภาโอลิมปิกหัวเรื่องจิตวิทยาการกีฬาและสรีรวิทยาการกีฬาใน ค.ศ.1913 ที่เมืองโลซานน์ได้รับการวิพากษ์อย่างหนักจากหนังสือพิมพ์สวิสสังคมนิยมซ้ายจัด คูเบอร์แต็งรู้สึกถึงความรับผิดชอบต่อการเน้นความสำคัญด้านสังคมของการกีฬา ท่านได้ย้ำถึงความเสมอภาคของนักกีฬาทั้งปวงในสนามกีฬา แนวคิดสองประการหลักต่อทุกรายการกีฬาคือ การช่วยเหลือกันและการแข่งขัน โดยคูเบอร์แต็งกล่าวอ้างว่า แนวคิดข้างต้นต่างล้วนเป็นพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ ทั้งนี้ ประเด็นสังคมในการกีฬาคือองค์ประกอบของความบากบั่นทุกประการของมนุษย์ต่อความยุติธรรม โดยปราศจากการกล่าวถึงตนเองในฐานะผู้แต่ง คูเบอร์แต็งประพันธ์บทกลอนเยอรมัน “Ode to Sport” ซึ่งทำให้ท่านได้รับเหรียญทองโอลิมปิกของรายการแข่งขันวรรณกรรมที่กรุงสต็อกโฮล์ม ค.ศ.1912             ความรุนแรงที่เกิดขึ้นแก่การประชุมสภาโลซานน์ภายในเอกสารปฏิวัติสังคมนิยมสวิสคงจะไม่เป็นที่น่าใส่ใจหากไม่เป็นเพราะว่า ในช่วงเวลานั้น เกิดความพยายามในการจัดตั้งกลุ่มนักกีฬาสังคมนิยมเช่นกัน สหสัมพันธ์ข้างต้นเชื่อมโยงกระแสนิยมสองประการในเรื่องนี้ซึ่งเกี่ยวกับบทบาทที่การกีฬาสามารถมีต่อสังคมในยุคพวกเรา โดยบทบาทนี้ควรได้รับการพิจารณาแต่เป็นที่ชัดเจนในด้านสันติสุขซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไม ความรุ่งเรืองของการกีฬาจึงเป็นที่สนใจของนักสังคมนิยมบางคนแต่ก็สร้างความขุ่นเคืองแก่คนอื่นในขณะเดียวกัน ความก้าวหน้าของการกีฬาเป็นคับข้องแก่ผู้สนับสนุนสงครามชนชั้นและดึงความเห็นใจของผู้คนที่วาดหวังแก่หนทางที่อ่อนโยนกว่าในการนำพาการเปลี่ยนแปลงที่พวกเขาปรารถนาแก่องค์กรต่างๆของสังคม             การเล่นกีฬาไม่ได้ขจัดความไม่เสมอภาคทางสังคมแต่ช่วยสร้างสัมพันธภาพอย่างเท่าเทียมกัน ในการนี้ รูปแบบมีความสำคัญกว่าสาระ ในที่สุดแล้ว ใครจะกล้าประกันได้ว่า ความเสมอภาคจะนำมาซึ่งสังคมสันติสุข? ไม่มีสิ่งใดจะไม่แน่นอนไปกว่านี้อีกแล้ว อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ค่อนข้างแตกต่างในด้านความเสมอภาคของสัมพันธภาพซึ่งกล่าวโดยง่ายว่า ลักษณะสัมพันธภาพนี้เป็นรูปแบบที่มีประโยชน์สุดของความเสมอภาคต่อการนำไปปฏิบัติในระบอบประชาธิปไตย ตัวอย่างของอเมริกาซึ่งอาจเป็นช่วงเวลาที่สั้นเกินกว่าจะหาข้อสรุปทางสังคมที่ชัดเจนได้นำเสนอข้อพิสูจน์ที่น่าสนใจในสิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวสนับสนุนในที่นี้ โดยมีบางประเทศที่มีความไม่เสมอภาคมากแต่เกิดสัมพันธภาพเอื้อเฟื้อต่อกันซึ่งทำให้สังคมสันติสุขดำรงอยู่อย่างสมบูรณ์และเป็นรูปธรรมกว่าที่อื่นมาก             ไม่แปลกที่หลักความเสมอภาคจะเกิดง่ายขึ้นในประเทศใหม่นั้น ไม่ได้ปรากฏและคงอยู่ด้วยตัวเองในแห่งหนใดยกเว้นสนามกีฬา โดยประการแรกด้วยการบังคับอย่างแท้จริงบนเครื่องแต่งกาย เครื่องแบบกีฬาไม่เคยจะสลับซับซ้อนแต่กลับเรียบง่ายขึ้นทุกวันเนื่องเพราะพฤติกรรมแพร่หลายของการออกกำลังกายในสภาพเปลือย ในไม่ช้าความสง่างามของเครื่องแต่งกายจะไม่ใช่ประเด็นสำคัญเว้นแต่จะเกี่ยวข้องกับรูปทรงร่างกายและคุณภาพเนื้อผ้า ความโดดเด่นทางสังคมไม่มีความเกี่ยวข้องประการใดกับความไม่เสมอภาคของสิ่งเหล่านี้ จากเสื้อผ้ามาสู่การกระทำ ใครจะเป็นคนที่แข็งแกร่งที่สุด เร็วที่สุด ทรหดอดทนที่สุด? ยามนี้คือช่วงเวลาเหมาะสมที่จะกล่าวซ้ำถึงงานเขียนของผู้แต่ง Ode to …

ตอนที่ 33 : การกีฬากับประเด็นสังคม : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »