ตอนที่ 30 : ระหว่างการศึกสองครา จากอุดมการณ์โอลิมปิกถึงมหาวิทยาลัยมวลชน : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

ระหว่างการศึกสองครา จากอุดมการณ์โอลิมปิกถึงมหาวิทยาลัยมวลชน             ในช่วงนั้น เทคโนโลยีที่แพร่หลายไปทั่วด้วยประโยชน์เชิงประสิทธิผลซึ่งปรากฏขึ้นในสังคมที่กำลังปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างสมบูรณ์นั้น โดยแม้จะเคยนำไปสู่การปฏิรูป แต่กลับไม่ได้รับการเอาใจใส่โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การเพิกเฉยต่อองค์ประกอบด้านมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญ              เชาวน์ปัญญาและความกล้าหาญคือสิ่งจำเป็นต่อการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งคุณค่าสูงสุดของมนุษย์ ทั้งนี้ ไม่ขึ้นอยู่กับสถานะของบุคคลโดยเฉพาะชนชั้นสังคมในขณะนั้น             ถึงเวลาต่อการเรียกร้องด้านจริยศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาที่จะส่งเสริมให้แต่ละบุคคลเข้าถึงศักยภาพเต็มเปี่ยมของตนเองอย่างอิสระในความหมายที่แท้จริง ปิแอร์ เดอ คูเบอร์แต็งได้เกิดความเข้าใจในสิ่งนี้ครั้นเริ่มต้นความพยายามด้านการศึกษาตั้งแต่ ค.ศ.1890 โดยพัฒนาแผนงานและเริ่มมองหาพันธมิตร               ณ ทอย์นบีฮอลล์ ซึ่งเป็นสถานศึกษาเอกชนไม่คิดค่าใช้จ่ายแก่ผู้ใช้แรงงานในย่านยากจนข้นแค้นของไวท์ชาเพิลในกรุงลอนดอน คูเบอร์แต็งได้สังเกตถึงการกระทำเพื่อพัฒนาอนาคตของผู้มีชะตาชีวิตน่าเศร้าบนความขมขื่นและหดหู่โดยปราศจากความหวัง โดยแม้นักเรียนจะขัดสนด้านวัสดุสิ่งของ จริยธรรมและกายภาพ แต่ก็สามารถจัดการศึกษาด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอด้วยการอุทิศตนของนักศึกษามหาวิทยาลัยอาสาสมัครซึ่งทำให้ค้นพบถึงความเป็นมนุษย์ที่เต็มเปี่ยมของผู้ใช้แรงงานแต่ละคนและการทำให้ความเป็นมนุษย์นั้นเกิดมรรคผลด้วยการปลุกจิตวิญญาณสร้างสรรค์ วัฒนธรรมเรียนรู้และวัฒนธรรมทางกายจึงจะสามารถบรรลุผลอย่างไม่ลำบากโดยไม่ต้องการสิ่งใดเว้นแต่การเค้นความแข็งแกร่งจากความหาญกล้าเท่านั้น ด้วยการแสดงออกอย่างอิสระ แต่ละบุคคลกลับมาเป็นเจ้าของตนเองอีกครั้งหนึ่งและกาลปัจจุบันได้กลายเป็นคำสัญญาแห่งอนาคต ผลสำเร็จเหล่านี้ยืนยันสิ่งที่คูเบอร์แต็งเชื่อว่า เมืองที่ควรคู่กับชื่อเสียงเรียงนามนั้น เหนือสิ่งอื่นใด จะต้องเป็นชุมชนของพลเมืองอิสระที่ปฏิบัติตนตามจริยธรรมขั้นสูง นักมนุษยนิยมต้องไม่แยกบุคคลออกจากสังคม              คูเบอร์แต็งทุ่มเทตลอดชีวิตทำงานด้วยแรงปรารถนาต่อการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมวลชนที่จะสามารถเกื้อหนุนความเจริญก้าวหน้าของปัจเจกชนทุกคน             เพื่อนทั้งหลายของข้าพเจ้าดูประหลาดใจว่า ตั้งแต่ที่ข้าพเจ้ามีชัยเหนือการศึกโอลิมปิกในวงกว้างกว่าที่พวกเขาทำนายไว้เป็นการทั่วไปนั้น ข้าพเจ้าไม่ยอมหยุดที่จะอิ่มอกอิ่มใจในการเก็บเกี่ยวผลงานที่ปรากฎ พวกเขากลับประหลาดใจที่ข้าพเจ้าพาตนเองเข้าสู่การศึกอีกแห่งที่มีสนามรบไม่ชัดเจนพร้อมด้วยเหล่าทหารจำนวนน้อยและรุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติสังคมที่วุ่นวายซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่สายตา             แผนงานของข้าพเจ้าไม่ได้เกิดจากความเร่งรีบหรือบุ่มบ่ามทั้งสิ้น …

ตอนที่ 30 : ระหว่างการศึกสองครา จากอุดมการณ์โอลิมปิกถึงมหาวิทยาลัยมวลชน : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »