ตอนที่ 15 : พลศึกษาในศตวรรษที่ยี่สิบ : สถิติ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

พลศึกษาในศตวรรษที่ยี่สิบ: สถิติ               ในบทความชั้นนำของนิตยสารฟิกาโร เดือนมกราคม ค.ศ.1903 คูเบอร์แต็งกล่าวถึงพัฒนาการล่าสุดของการกีฬาในการบากบั่นต่อสถิติและเล็งเห็นว่า สิ่งนี้คือแบบอย่างที่มีเหตุผลของความพยายาม กีฬาสมัยใหม่ก้าวพ้นขีดจำกัดของตนเองดังที่คูเบอร์แต็งจะชี้แจงต่อไปโดยมองว่า ความมุ่งมั่นทุ่มเทของนักกีฬาคือความพยายามควบคุมตนเอง แต่คูเบอร์แต็งกลับพบกับสิ่งตรงข้ามกล่าวคือ สถิติส่วนตัวซึ่งเป็นการพัฒนาผลงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง ตัวแบบกีฬาของชาวสวีเดนคือตัวอย่างที่ดีสุดในเรื่องนี้ ในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์การกีฬาปัจจุบันนั้น ความเห็นของคูเบอร์แต็งต่อความสำคัญของมานุษยมิติที่ปรากฏในหัวข้อท้ายสุดมีค่าควรอ่าน              คำศัพท์ต่างประเทศอีกจำนวนมาก! ท่านสามารถคาดหวังประการอื่นหรือ? ข้าพเจ้ารู้สึกไร้เหตุผลที่จะกล่าวคำว่า “referee” เมื่อสามารถบอกง่ายๆว่า “arbitre” ในภาษาฝรั่งเศสหรือการกล่าวถึงคำว่า “scrimmage” และ “try” ซึ่งสามารถแปลอย่างง่ายว่าคือ “melee” และ “essai” โดยข้าพเจ้ายังพบถึงเกียรติภูมิชาติที่หดหายไปจากความกลัวที่ต้องใช้คำที่ไม่มีคำแทนอื่นซึ่งเป็นเรื่องน่าขัน คำภาษาอังกฤษ “สถิติ” ดูเหมือนจะไม่มีสิ่งเทียบเคียงในภาษาอื่นเนื่องเพราะกลายเป็นคำที่ใช้ทั่วโลก ข้อพิสูจน์ที่คำนี้ได้กลายเป็นภาษาโลกโดยธรรมชาติคือการที่ข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องอ้างถึงคำซ้ำอื่นใดเพื่อการอธิบาย ทุกคนเข้าใจความหมายของคำนี้             แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะชื่นชมคุณค่าทางการศึกษาของคำนี้และการผสมผสานสองแนวคิดคือ การศึกษาและสถิติ ย่อมเป็นการขับเคลื่อนที่หาญกล้า ท่านจะเห็นว่า สถิติเป็นดั่งสัญลักษณ์ของความพากเพียรโดยถูกมองว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่พวกเราแสวงหาค่าเฉลี่ยซึ่งถูกยอมรับมากกว่าการดั้นด้นสู่ความเป็นเลิศ แต่นี่เป็นความผิดเพี้ยน สถิติอาจถูกนำมาใช้มากเกินไปแต่ก็เป็นไปเพื่อตนเอง สถิติจะได้รับความใส่ใจน้อยกว่าการแข่งขันด้วยเหตุผลที่เข้าใจได้ การแข่งขันจะทำให้ท่านต้องเจ็บปวดในการเป็นคู่แข่งกับอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่ง แต่สถิติทำให้ท่านต่อสู้กับวัตถุข้อเท็จจริงคือตัวเลขวัดพื้นที่หรือเวลา กล่าวอย่างเคร่งครัดแล้ว ท่านกำลังต่อสู้กับตัวเองเท่านั้น …

ตอนที่ 15 : พลศึกษาในศตวรรษที่ยี่สิบ : สถิติ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »