Day: June 8, 2022

ศธ. ผนึกกำลัง คุรุสภา เตรียมปรับหลักสูตรผลิตครู ลดปัญหาสอบไม่ผ่านใบประกอบวิชาชีพ

วันที่ 8 มิถุนายน 2565 ที่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคุรุสภา มอบนโยบายและรับฟังความคิดเห็นในการประชุมสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 เพื่อหารือเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของคุรุสภา โดยมี รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย รศ.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และ รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รักษาการเลขาธิการคุรุสภา เข้าร่วมด้วย รมว.ศธ. เปิดเผยว่า การประชุมในวันนี้ได้หารือเกี่ยวกับการปรับระบบขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งเป็นเหมือนจุดคัดกรองมาตรฐานของครู ให้ผู้ปกครองมั่นใจได้ว่าโรงเรียนจะมีครูที่มีคุณภาพให้บุตรหลาน แต่ในช่วงที่ผ่านมา มีอัตราการสอบผ่านลดลง เนื่องจากสอบไม่ผ่านในบางวิชา เช่น วิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องมองในสภาพความเป็นจริงว่า ครูในบางสาขาวิชาเอกที่ไม่ใช่วิชาภาษาอังกฤษอาจจะไม่ได้มีความถนัด และอาจเป็นการจำกัดโอกาสของนิสิตนักศึกษาครูที่เรียนจบมาแล้ว ไม่สามารถสอบผ่านใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ แต่เกณฑ์การคัดเลือกก็ยังจำเป็นต่อการรักษาคุณภาพไว้ ทาง ศธ.จึงหารือร่วมกับ สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในฐานะต้นทางของการผลิตครู เพื่อปรับหลักสูตรการสอนให้เสริมย้ำความรู้ที่จำเป็นให้แก่นิสิตนักศึกษาครู เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการประกอบอาชีพ โดยกระทรวงศึกษาธิการ และ คุรุสภา จะปรับระบบและกฎระเบียบการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ให้มีความยืดหยุ่นเหมาะสมยิ่งขึ้น …

ศธ. ผนึกกำลัง คุรุสภา เตรียมปรับหลักสูตรผลิตครู ลดปัญหาสอบไม่ผ่านใบประกอบวิชาชีพ Read More »

ครม. เห็นชอบโครงการ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” รองรับนักเรียนตกหล่นจากระบบการศึกษา และผู้ที่ขาดโอกาสทางการศึกษา

เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 65 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” ในสถานศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) 88 แห่งทั่วประเทศ รองรับนักเรียนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา และเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล จำนวน 5,280 คน สถานศึกษา 88 แห่ง แห่งละ 60 คน ทั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย และส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาศักยภาพกำลังคน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งปลูกฝังค่านิยมด้านคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักเรียนสายอาชีพ ที่มีฐานะยากจน ขาดโอกาสทางการศึกษา หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล ให้มีทักษะวิชาชีพ สามารถทำงานประกอบอาชีพได้ และเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มปริมาณผู้เรียน สร้างทางเลือกสำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีความสนใจในการเรียนต่อสายอาชีพให้เข้าสู่การศึกษาระดับอาชีวศึกษา และเมื่อนักเรียนจบการศึกษาแล้วจะได้รับวุฒิการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และสามารถสร้างความมั่นคงในการประกอบวิชาชีพได้ พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาสายอาชีพที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 …

ครม. เห็นชอบโครงการ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” รองรับนักเรียนตกหล่นจากระบบการศึกษา และผู้ที่ขาดโอกาสทางการศึกษา Read More »

ไทยเดินหน้าพัฒนาการศึกษาต่อเนื่อง เน้นคุณภาพที่ดีขึ้น ครอบคลุม และเสมอภาคสำหรับประชาชนทุกคน

เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 65 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานปิดการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (การศึกษา 2030) ครั้งที่ 2 (APREMC II) ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ การประชุม APREMC-II ในปี 2565 ครั้งนี้ เป็นเวทีร่วมกันวิเคราะห์ความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 ด้านการศึกษาที่มีคุณภาพและครอบคลุม ภายหลังผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งก่อให้เกิดความผันผวนที่คาดการณ์ไม่ได้ และมีผลกระทบต่อการศึกษา ทั้งในระดับโลกและภูมิภาค รวมถึงผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เรียน ในส่วนของประเทศไทย รมว.ศึกษาธิการ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการด้านการศึกษา เช่น การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล, การให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษา ภายใต้ศูนย์ “MOE Safety Center”, การเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ภายใต้โครงการ “พาน้องกลับมาเรียน” เพื่อค้นหา ติดตามเด็กตกหล่น และออกกลางคัน กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา, …

ไทยเดินหน้าพัฒนาการศึกษาต่อเนื่อง เน้นคุณภาพที่ดีขึ้น ครอบคลุม และเสมอภาคสำหรับประชาชนทุกคน Read More »

error: Content is protected !!