เภสัชจุฬาฯ คิดค้น “เจลทรานสเฟอร์โซม” ช่วยลบเลือนรอยแผลเป็นนูน ผลิตภัณฑ์จากสารสำคัญในพืชบัวบก

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

เภสัชศาสตร์ จุฬาฯ คิดค้น “เจลทรานสเฟอร์โซม” ช่วยลบเลือนรอยแผลเป็นนูน ผลิตภัณฑ์จากสารสำคัญในพืชบัวบก ผนวกเทคนิคพิเศษ ช่วยลบเลือนรอยแผลเป็นนูนและรอยดำได้ผล คว้ารางวัลเหรียญทองนวัตกรรมระดับนานาชาติ ITEX 2024 และรางวัลพิเศษ จาก Korea Invention Promotion Association

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.รมย์ฉัตร ชูโตประพัฒน์ ภาควิชาวิทยาการเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากการศึกษาวิจัย พบว่า “กรดเอเชียติก” ในบัวบกมีฤทธิ์ต้านการอักเสบของผิวหนังได้ดี แต่ไม่สามารถนำมาใช้ทาแผลเป็นได้โดยตรง จึงนำกรดเอเชียติกของบัวบกมาบรรจุลงในอนุภาคทรานสเฟอร์โซมในรูปแบบเจล เพื่อให้สามารถเกาะและซึมลงผิวหนังได้ดียิ่งขึ้น

“กรดเอเชียติก” จากพืชบัวบก มีฤทธิ์ต้านการอักเสบของผิวหนัง ฆ่าเชื้อ และทำให้แผลสมานตัวได้ดี แต่เป็นสารละลายน้ำได้ยาก เมื่อทาลงบนผิวโดยตรง สารดังกล่าวจะไม่สามารถซึมลงสู่ชั้นผิวหนังบริเวณที่เกิดการอักเสบได้ จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่จะช่วยนำส่ง “สารเอเชียติก” จากบัวบกเข้าไปในผิวหนังบริเวณที่ต้องการรักษา ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าว เรียกว่า ทรานสเฟอร์โซม (Transfersomes) ทีมวิจัยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในรูปแบบของเจล ซึ่งมีลักษณะคล้ายฟิล์มที่สามารถเกาะบริเวณแผลได้ดี โอกาสที่สารจะซึมเข้าไปบริเวณแผลก็มีมากขึ้นเช่นกัน

เจลทรานสเฟอร์โซมเก็บกักกรดเอเชียติก มีฤทธิ์ต้านการอักเสบบริเวณผิวหนัง ช่วยลดโอกาสการนูนของบาดแผลได้มาก เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เช้า-เย็นใน 2 สัปดาห์แรก จะเริ่มเห็นผล ร่างกายจะปรับรูปร่างเนื้อที่นูนให้กลับมาใกล้เคียงเดิมมากที่สุด นอกจากจะช่วยดูแลเรื่องแผลเป็นนูนแล้ว เจลทรานสเฟอร์โซมเก็บกักกรดเอเชียติก ยังสามารถใช้กับแผลเป็นที่มีรอยดำ จากสิว การแกะเกาแผล หรือ แผลตกสะเก็ดได้อีกด้วย เจลทรานสเฟอร์โซมเก็บกักกรดเอเชียติก จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด เมื่อใช้กับแผลแป็นที่ไม่เกิน 1 ปี ส่วนแผลเป็นที่นานกว่า 1 ปี ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน แต่อาจต้องใช้ผลิตภัณฑ์ในระยะยาวนานกว่าจะเริ่มเห็นผล

ผศ.ภญ.ดร.รมย์ฉัตร กล่าวทิ้งท้ายว่า ด้วยคุณสมบัติของเจลทรานสเฟอร์โซม ที่สามารถลดรอยด่างดำ และเพิ่มความยืนหยุ่นของผิวหนัง เราสามารถนำไปปรับสูตร เพื่อต่อยอดกับผลิตภัณฑ์สำหรับการชะลอวัยได้เช่นกัน โดยในอนาคตจะพัฒนาและใช้เทคโนโลยีทรานสเฟอร์โซมในอุตสาหกรรมการผลิตยา และเครื่องสำอาง ต่อไป

อ้างอิงจากhttps://shorturl.asia/BDj1N

RANDOM

สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล เปิดรับสมัครคัดเลือก “วิศวกรเครื่องกล-นักวิชาการโสตทัศนศึกษา” ทั้งนี้ ตำแหน่ง วิศวกรเครื่องกล ปิดรับสมัคร 31 พ.ค. ขณะที่ ตำแหน่ง นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ปิดรับสมัคร 28 พ.ค. นี้

เปิดบ้าน ม.ธรรมศาสตร์ สุดคึกคัก ชูสุดยอด 129 หลักสูตร ป.ตรี อัปเลเวลสู่ “มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบชั้นนำแห่งอนาคต” รุกปรับหลักสูตรครั้งใหญ่ เน้นความสนใจ โอกาส และการเปลี่ยนแปลงโลก

NEWS

กองทุนอนุสรณ์สุนทรภู่ ร่วมกับ สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย เชิญชวนเยาวชนและบุคคลทั่วไปที่สนใจ ร่วมประกวดบทร้อยกรอง “นิทานคำกาพย์” เนื่องในวันสุนทรภู่ ประจำปี 2568 สมัครและส่งผลงานได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 6 มิถุนายน

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!