มข. ร่วมมือ ก.ต่างประเทศ จัดเสวนาระดมสมอง Smart city and Connectivity รับการประชุม APEC ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย วิทยาลัยนานาชาติ ร่วมกับ กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และ Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) จัดการเสวนาระดมสมอง APEC Media Focus Group ครั้งที่ 4 ภายใต้แนวคิด Smart City and Connectivity เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประชาสัมพันธ์ และสร้างความตระหนักรู้ให้กับทุกภาคส่วนในสังคม ในเรื่อง Smart City and Connectivity ที่ APEC ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาเมือง เศรษฐกิจ ให้กลายเป็นเมืองฉลาด อัจฉริยะ ทั่วทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารเรียนรวมพื้นฐาน วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการเสวนา Smart City and Connectivity ได้รับเกียรติกล่าวเปิดงานโดย นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคของไทย ร่วมด้วย ผศ. สิริมนพร ทิพสิงห์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ขอนแก่นเป็นศูนย์กลางความเชื่อมโยงในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเสวนาครั้งนี้จึงจะเป็นประโยชน์ในการเป็นเจ้าภาพเอเปกของประเทศ โดยเฉพาะการแบ่งปันองค์ความรู้ ประสบการณ์ ด้านสมาร์ทซิตี้ของขอนแก่นให้สาธารณชนรับทราบในวงกว้าง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมโอกาสและศักยภาพของภาคธุรกิจของประเทศไทยในภูมิภาคได้อย่างเป็นรูปธรรม ในโอกาสที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุม APEC ซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติ และเป็นโอกาสสำคัญอย่างยิ่งที่ไทยได้แสดงบทบาทในเวทีสำคัญระดับโลกผ่านการเสวนาที่เน้นความมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ขอนแก่นเป็นเมืองหลวงของการเจริญเติบโตในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เราจะพัฒนาเมืองได้ต้องมีทรัพยากรมนุษย์ที่ฉลาดมาก ท่ามกลางจุดแข็งที่ขอนแก่นมี อาทิ พื้นที่ทางการเกษตร ผู้คนฉลาด เมืองที่พร้อมต่อการขยายการเจริญเติบโต ทุกภาคมีประเด็นที่ต้องขับเคลื่อนต่อ เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร การขัดข้องทางการเงิน การพัฒนาทักษะแรงงาน และการกระจายรายได้ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ล้วนต้องอาศัย Smart City and Connectivity ทั้งสิ้น

ด้าน ผศ. สิริมนพร ทิพสิงห์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้วางแผนผลิตงานวิจัยที่เอื้อต่อการเป็น Smart City โดยงานวิจัยนี้พูดถึงการตลาดและการท่องเที่ยว ในเจนวาย (Gen Y ) สอบถามไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยว 389 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังจ่ายสูง ทำการวิจัยเกี่ยวกับมุมมองนักท่องเที่ยวว่า หากต้องการไปเที่ยวในเมืองนั้น มีองค์ประกอบใดใน smart city ที่เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจท่องเที่ยวในเมืองนั้น ๆ โดยโครงการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ขณะนี้ อยู่ในระยะแรกที่สามารถระบุได้ว่ามี 3 ปัจจัยหลัก ที่นักท่องเที่ยวใช้พิจารณา คือ Smart People ต้องมีคนฉลาด Smart Mobility การเดินทางและการขนส่งต้องสะดวกสบายมีระบบอัจฉริยะ เพื่อที่จะให้มี Smart Living การดำรงชีวิตอัจฉริยะ 3 ส่วนนี้ เป็นปัจจัยแรก ๆ ที่นักท่องเที่ยวจะตัดสินใจเพื่อท่องเที่ยวเมืองนั้น ๆ

RANDOM

“ททท.+กทม.” สุดปลื้ม “อะเมซิ่ง ไทยแลนด์ แบ็งค็อก มาราธอน” สุดคึกคัก 26,000 คนร่วมวิ่ง “ปอดเหล็กเอธิโอเปีย” โชว์เหนือวิ่งม้วนเดียวจบ คว้าถ้วยพระราชทานฯ ด้าน “สัญชัย-ลินดา” คว้าแชมป์คนไทย

NEWS

สอศ. ร่วมกับ ศูนย์ CLEC เปิด ‘ห้องปฏิบัติการภาษาจีนระดับอาชีวศึกษาแห่งแรกของโลก’ ที่วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี หนุนสร้างแรงงานคุณภาพสมรรถนะสูง รองรับการเติบโตของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย-จีน

กระทรวงพาณิชย์ เชิญชวนนักออกแบบ ผู้ประกอบการ สมัครเข้าร่วมโครงการรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม ปี 2567 ‘Design Excellence Award 2024’ (DEmark) จุดพลัง สร้างสรรค์งานดีไซน์ อย่างยั่งยืน เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 3 มิถุนายน 2567

error: Content is protected !!