อาชีวะคลอดหลักสูตรเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ฉบับใหม่ 23 สาขาวิชา ระดับปวช. และ ปวส. เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นฐาน ตามมาตรฐานกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) และมาตรฐานสากล

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ โดยยึดผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นฐาน (Outcome Based Education : OBE) โดยมี นายประพัทธ์ รัตนอรุณ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธาน พร้อมด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูจากโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน วิทยาลัยเทคนิคพังงา และ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี และ อาจารย์จากมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุม ณ มีโฮเทล เอสเคป กรุงเทพฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้

นายประพัทธ์ รัตนอรุณ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดย สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ ร่วมกับ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) ดำเนินการจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจระดับปวช. และ ระดับ ปวส.โครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ โดยยึดผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นฐาน (Outcome Based Education : OBE) มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรณาธิการกิจหลักสูตรโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์โดยเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) ระดับ ปวช. และ ระดับ ปวส. ซึ่งการดำเนินงานเริ่มจากระยะที่ 1 พัฒนาหลักสูตร และระยะที่ 2 วิพากษ์หลักสูตร โดยการประชุมในครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 3 และ ครั้งสุดท้ายของการพัฒนาหลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นฐาน (Outcome Based Education) ยึดโยงกับมาตรฐานสากล มาตรฐานอาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) มาตรฐานของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความถูกต้องและได้เอกสารหลักสูตรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด

รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวต่อว่า สำหรับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ คือ ในแต่ละสาขาวิชามีความเชื่อมโยงกับมาตรฐานอาชีพตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ในเรื่อง Skill Certificate และยังสามารถเชื่อมโยงผลลัพธ์การเรียนรู้ในระดับรายวิชาที่นำไปเทียบโอนความรู้ในระบบ Credit bank โดยมีสาขาวิชาทั้งหมด 23 สาขา ดังนี้ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ได้แก่ 1. สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ เชื่อมโยงกับ 3 มาตรฐานอาชีพ กล่าวคือ เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิ ปวช. และ 3 ใบประกาศนียบัตร (Certificate) ตามมาตรฐานอาชีพ 2. สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องมือกล เชื่อมโยงกับ 3 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวช. และ 3 Certificate 3. สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าและพลังงานทางเลือก เชื่อมโยงกับ 4 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวช. และ 4 Certificate 4. สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เชื่อมโยงกับ 3 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวช. และ 3 Certificate 5. สาขาวิชาเทคโนโลยีเมคคาทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ เชื่อมโยงกับ 5 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวช. และ 5 Certificate 6. สาขาวิชาเทคโนโลยีโยธา เชื่อมโยงกับ 3 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวช. และ 3 Certificate 7. สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เชื่อมโยงกับ 3 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวช. และ 3 Certificate 8.  สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยวฐานวิทยาศาสตร์ เชื่อมโยงกับ 4 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวช. และ 4 Certificate 9.  สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแปรรูปอาหาร เชื่อมโยงกับ 6 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวช. และ 6 Certificate 10. สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร เชื่อมโยงกับ 1 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวช. และ 1 Certificate

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง (ปวส.) ได้แก่ 1. สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เชื่อมโยงกับ 1 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวส. และ 1 Certificate 2. สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการผลิต เชื่อมโยงกับ 2 มาตรฐานอาชีพ หรือ  ได้รับวุฒิปวส. และ 2 Certificate 3. สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและพลังงานทางเลือก เชื่อมโยงกับ 2 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวส. และ 2 Certificate 4. สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและปัญญาประดิษฐ์ เชื่อมโยงกับ 1 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวส. และ 1 Certificate 5. สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมระบบอัตโนมัติ เชื่อมโยงกับ 2 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวส. และ 2 Certificate 6. สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา เชื่อมโยงกับ 1 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวส. และ 1 Certificate 7. สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เชื่อมโยงกับ 1 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวส. และ 1 Certificate 8. สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความงาม เชื่อมโยงกับ 3 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวส. และ 3 Certificate 9. สาขาวิชานวัตกรรมเชิงธุรกิจไมซ์และอีเวนต์ เชื่อมโยงกับ 2 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวส. และ 2 Certificate 10. สาขาวิชานวัตกรรมแปรรูปและวิเคราะห์คุณภาพอาหาร เชื่อมโยงกับ 3 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวส. และ 3 Certificate 11. สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตพืช เชื่อมโยงกับ 2 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวส. และ 2 Certificate 12. สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตสัตว์ เชื่อมโยงกับ 6 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวส. และ 6 Certificate 13. สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการผลผลิตทางการเกษตรโครงการ เชื่อมโยงกับ 5 มาตรฐานอาชีพ หรือ ได้รับวุฒิ ปวส. และ 5 Certificate

นอกจากนี้ สอศ. ยังได้มีการพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ต่อเนื่อง 5ปี) ยึดผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นฐาน (Outcome Based Education : OBE) โดยเป็นการพัฒนาหลักสูตรเดิมที่มี 2 สาขาวิชา เป็น 3 สาขาวิชา คือ 1. สาขาวิชาวิศวกรรมทรอนิกส์และหุ่นยนต์ 2. สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และ 3. สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งหลักสูตรมีการเชื่อมโยงมาตรฐานวิชาชีพ และมาตรฐานสากล โดยผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ จะได้รับใบประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพด้วย ทั้งนี้ ในขั้นตอนการดำเนินการต่อจากนี้ สอศ.จะนำเสนอคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเพื่อพิจารณาต่อไป

RANDOM

NEWS

error: Content is protected !!