นักวิจัย มวล. หนุนท่องเที่ยวจ.กระบี่ ดันเป็นเมืองท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2040

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

นักวิจัยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขับเคลื่อนงานวิจัยท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ที่จังหวัดกระบี่ ตามแผน BCG Model พัฒนากิจกรรมสินค้าและบริการ ช่วยปรับ-ลด-ชดเชย คาร์บอนฟุตพริ้นจากการท่องเที่ยว พร้อมตั้งเป้าให้กระบี่เป็นเมืองคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2040

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) เปิดเผยว่า ทีมนักวิจัยของ มวล.กำลังร่วมกันขับเคลื่อนแผนงานวิจัย เรื่อง “การพัฒนาการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์จังหวัดกระบี่และพื้นที่เชื่อมโยง” ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชนท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นจากการท่องเที่ยว การวิเคราะห์ตลาดทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศในการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการคำนวณขนาดการปล่อยคาร์บอน การปรับ-ลด-ชดเชย ปริมาณการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นจากการท่องเที่ยว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ลภัส กล่าวต่อว่า การท่องเที่ยวแบบคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ เป็นการท่องเที่ยวโดยลดการใช้พลังงาน ลดการใช้เชื้อเพลิงคาร์บอน เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวลงไปสัมผัสวิถีชีวิต และภูมิปัญญาของชุมชน ได้ศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติ ใช้ชีวิตให้ช้าลง กินอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญสามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้กับชุมชน ซึ่งนักวิจัย มวล.ได้ลงไปขับเคลื่อนในชุมชนต้นแบบของกระบี่ ได้แก่ ชุมชนท่องเที่ยวบ้านไหนหนัง ชุมชนทุ่งหยีเพ็ง บ้านแหลมสัก เกาะกลาง ห้วยน้ำขาว คลองท่อม และชุมชนบ้านนาตีน ซี่งขณะนี้กิจกรรมการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ได้ถูกนำไปใส่ในโปรแกรมการท่องเที่ยว และได้รับความสนใจอย่างมากจากกลุ่มนักท่องเที่ยวแถบยุโรป และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษา พบว่า การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ฯ ต้องอาศัยการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้น เพื่อให้ทราบค่าเป้าหมายในการลดคาร์บอนฟุตพริ้น โดยผู้ที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญกับการจัดการ โดยเฉพาะด้านยานพาหนะทางการท่องเที่ยว และการจัดการขยะ เนื่องจากส่งผลกระทบอย่างมากต่อปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้น นอกจากนี้ ยังต้องให้ความสำคัญกับกิจกรรมการลดคาร์บอนฟุตพริ้นที่ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องให้ความตระหนัก และมีการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอตามปฏิญญากระบี่ หลังจากการลดแล้ว ต้องมีการชดเชย ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวสามารถนำคะแนน Earth Point ขององค์กร ไปแลกคาร์บอนเครดิตเพื่อเป็นการชดเชย ซึ่งการขับเคลื่อนจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงทั้งเครือข่ายในระดับประเทศ และเครือข่ายในจังหวัดกระบี่ เพื่อร่วมขับเคลื่อน Krabi Carbon Neutral Tourism 2040 ต่อไป

RANDOM

“ก้องศักดมอบรองชุม”สะสางกลุ่มต้องล้างท่อและค้างชำระ ขณะที่กลุ่มค้างนานเอาเงินไปแล้วไม่เคลียร์ ยันเป็นเงินหลวงก็ต้องคืนหลวงเท่านั้นจะละเลยไม่ได้ พร้อมเตรียมแก้ไขจะไม่ให้ติดขัดเรื่องนี้ในอนาคต

error: Content is protected !!