มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ช่วยชุมชนสู้ภัยฝุ่น PM 2.5 จัดอบรมจัดทำพื้นที่ปลอดฝุ่นสำหรับศูนย์เด็กเล็กทั่วเชียงราย พร้อมฝึกทำเครื่องฟอกอากาศ – เครื่องเติมอากาศ อย่างง่าย

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) จัดโครงการฝึกอบรมจัดทำพื้นที่ปลอดฝุ่นสำหรับกลุ่มเสี่ยงแก่ศูนย์เด็กเล็กทั่วเชียงราย ฝึกทำเครื่องฟอกอากาศ-เครื่องเติมอากาศอย่างง่าย โดยมีศูนย์เด็กเล็กของท้องถิ่นและเอกชนในพื้นที่จังหวัดเชียงรายเข้าร่วมกว่า 100 แห่ง ท่ามกลางสถานการณ์หมอกควันระดับกระทบคุณภาพชีวิต-เศรษฐกิจภาคเหนือ

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) โดย ศูนย์ศึกษาวิจัยและปฏิบัติการเพื่อลดปัญหาการเกิดไฟป่า หมอกควัน ในประเทศไทยและในภูมิภาค จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำพื้นที่ปลอดฝุ่นสำหรับกลุ่มเสี่ยง และฝึกปฏิบัติการทำอุปกรณ์สำหรับพัฒนาพื้นที่ปลอดฝุ่นอย่างง่ายด้วยตัวเอง โดยมีตัวแทนศูนย์เด็กเล็กของท้องถิ่นและเอกชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย กว่า 100 แห่ง เข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทำเครื่องฟอกอากาศและเครื่องเติมอากาศ ( Air Filter & Aerator DIY Workshop) การจัดทำพื้นที่ปลอดฝุ่นสำหรับกลุ่มเสี่ยง ฝึกปฎิบัติการทำอุปกรณ์ สำหรับพัฒนาพื้นที่ปลอดฝุ่นอย่างง่ายด้วยตนเอง (DIY) วิทยากรจากศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มฟล. , พร้อมให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพที่มาจากฝุ่น PM 2.5 ต่อกลุ่มเปราะบาง โดยนักวิจัยจากสำนักวิทยาศาสตร์ ท่ามกลางสถานการณ์หมอกควันที่กระทบต่อคุณภาพชีวิต สุขภาพของคน และเศรษฐกิจภาคเหนือในวงกว้าง

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้จัดตั้ง “ศูนย์ศึกษาวิจัยและปฏิบัติการเพื่อลดปัญหาการเกิดไฟป่า หมอกควัน ในประเทศไทยและในภูมิภาค” และ “กองทุนเมืองไทยไร้หมอกควัน” เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2562 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เนื่องจากปัญหาไฟป่าและหมอกควันที่ทวีความรุนแรงขึ้นในปี 2562 ที่จังหวัดเชียงราย มีค่า PM 2.5 สูงเกิน 100 ไมโครกรัมต่อลูกบากศก์เมตร ซึ่งเป็นระดับที่เริ่มส่งผลอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไป เป็นเวลา 120 วัน

โดยได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมตามวัตถุประสงค์มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเข้าไปมีส่วนร่วมเปลี่ยนแปลงการทำการเกษตรในพื้นที่สูง ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดไฟป่าในภาคเหนือ โดยได้รับการสนับสนุนผ่านการบริจาคเงินเข้ากองทุนเมืองไทยไร้หมอกควันจากภาคเอกชน อาทิ รายได้จาก Toyota Chiang Rai Night Run และ มูลนิธิชวน รัตนรักษ์ และการสนับสนุนเป็นสิ่งของ เช่น อุปกรณ์ดับไฟป่าจากสิงห์อาสา หน้ากากจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) น้ำดื่มจากสิงห์ปาร์ค เชียงราย และ มูลนิธิโคคา-โคล่า ประเทศไทย เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังได้จัดทำโครงการเครือข่ายวัดคุณภาพอากาศกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ที่พัฒนาอุปกรณ์วัดคุณภาพอากาศ M-Care ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีก่อกำเนิด (AIE) สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาออกมา 3 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 1 ติดตั้งในหมู่บ้านและโรงเรียนนำร่อง ใช้การส่งผ่านสัญญาณ WIFI เพื่อรายงานค่าคุณภาพอากาศรายชั่วโมง รุ่นที่ 2 ที่มีไฟแสดงผลระดับฝุ่น 5 สี เชื่อมต่อ WIFI หรือ ผ่านคลื่นวิทยุกำลังส่งต่ำ LoRa เมื่อไม่มีสัญญาณ WIFI ที่ติดตั้งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย และ รุ่นที่ 3 ที่ตัดอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นออก เพื่อให้มีต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถนำไปใช้ได้เป็นการทั่วไป โดยทุกรุ่นสามารถรายงานผลแบบ Realtime ผ่านแอปพลิเคชัน “ยักษ์ขาววัดฝุ่น” https://yakkaw.com

โครงการสื่อเสียงตามสายภาษาถิ่นต่อความตระหนักของประชาชนในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ไฟป่า และฝุ่น PM 2.5 ร่วมกับ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ ที่ได้ผลิตสื่อเสียงตามสาย 13 ภาษา และมอบให้กับจังหวัดไปใช้ประโยชน์ในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลเสี่ยงไฟป่า เกิดความตระหนักเห็นถึงอันตรายและผลกระทบต่อสังคมจากไฟป่าและฝุ่นควัน และสามารถป้องกันตนเอง ครอบครัว ตลอดจนชุมชนให้ปลอดภัยจากฝุ่นควันได้ นอกจากนี้ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ และ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ยังได้มีกิจกรรมการให้ความรู้และแนวทางการรับมือ PM 2.5 โดยมีการอบรมการทำหน้ากากประดิษฐ์เอง (DIY) ที่ผ่านการออกแบบและทดสอบแล้วว่า มีประสิทธิภาพในการกรองอากาศให้กับผู้นำกลุ่มแม่บ้านในอำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่ฟ้าหลวง และ อำเภอแม่สรวย

โครงการพัฒนาต้นแบบศูนย์เด็กเล็กปลอดฝุ่น PM 2.5 ให้กับชุมชน ร่วมกับ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และ สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้การทำอุปกรณ์ดักจับฝุ่น การปิดช่องอากาศ การติดตั้งเครื่องเติมอากาศ และ การตรวจวัดคุณภาพอากาศ ให้กับ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลท่าสุด เพื่อเป็นต้นแบบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นที่ดูแลเด็กเล็ก และกลุ่มเสี่ยงเข้าศึกษาดูงาน

นอกจากนี้ ยังมีโครงการระบบสนับสนุนและติดตามการใช้งานอุปกรณ์สู้ไฟป่าสำหรับพื้นที่เสี่ยงภัย ที่สนับสนุนอุปกรณ์ทำแนวกันไฟ และดับไฟป่า เพื่อให้อาสาสมัครของชุมชนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นไปที่ชุมชนเกษตรกรรมที่ปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกมาเป็นเกษตรอินทรีย์ที่ไม่มีการเผา และชุมชนในพื้นที่เสี่ยงไฟไหม้ จำนวน 14 ชุมชน ในอำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่ลาว และ อำเภอแม่จัน มาตั้งแต่ปี 2563 โดยในส่วนของเครื่องจักรใช้ระบบให้ยืมปฏิบัติการ เพื่อประโยชน์ในการซ่อมบำรุง

RANDOM

ไอบ้าประกาศแยกทางกับ IOC ด้วยการสั่งห้ามคนของตนเองร่วม “การจัดการมวยสากลในโอลิมปิกเกมส์ 2024” อย่างเด็ดขาด “ประธานผู้ตัดสินโลกชาวไทย” ไพบูลย์ ศรีชัยสวัสดิ์ คิดต่างมุม จึงตัดสินใจอำลาแล้ว

NEWS

คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ ม.ศรีปทุม เชิญชวนน้อง ๆ เยาวชน ร่วมประกวดไอเดียนวัตกรรมทางธุรกิจ ในหัวข้อ “WellTech Entrepreneur : Good Health and Well-being” ชิงทุนการศึกษา ส่ง Concept Idea เข้าประกวดได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 10 พ.ค. 67

error: Content is protected !!