“บิ๊กป้อม” นั่งประธาน MOU 3 ฝ่าย หนุนพัฒนาองค์ความรู้การบริหารทรัพยากรน้ำเพื่อชุมชน เล็งเปิดหลักสูตร “ชลกร” วษท. ทั่วประเทศ

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) การพัฒนาองค์ความรู้ด้านบริหารทรัพยากรน้ำ เพื่อบูรณาการสร้างการเรียนรู้ของชุมชน ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และ มูลนิธินโยบายสาธารณะไทย และมอบนโยบายของรัฐบาลด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พร้อมด้วย นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) นายโชติ โสภณพนิช ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะไทย ณ ห้องราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อเร็ว ๆ นี้

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และมูลนิธินโยบายสาธารณะไทย ในความร่วมมือของทั้ง 3 หน่วยงาน ที่มุ่งมั่นในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีความมั่นคง และเกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องประชาชน ซึ่งการร่วมลงนามในวันนี้ นับเป็นการยกระดับความเข้มแข็งของการดำเนินงานร่วมกัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเกิดผลสัมฤทธิ์ที่สนับสนุนแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจากการร่วมลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังในครั้งนี้

ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวเน้นย้ำถึงเจตนารมย์ของรัฐบาลในการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เนื่องจากน้ำเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่สำคัญของชาติ โดยปัจจุบันมี คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ทำหน้าที่ในการบูรณาการ และบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีเอกภาพ อย่างไรก็ตาม จะต้องสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยจะต้องพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการที่จะร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมพัฒนา และใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า เพื่อประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืนต่อไป

ด้าน ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นหนึ่งในภารกิจและแผนการขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ นับเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญที่จะสร้างคุณประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับประเทศชาติ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารทรัพยากรน้ำ การบูรณาการสร้างการเรียนรู้ของชุมชน ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการสร้างศักยภาพ การผลิตชลกรและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ท้องถิ่น และสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยชุมชนอย่างยั่งยืน

ทางด้าน ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สอศ. ได้รับมอบนโยบายจาก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ดำเนินการเปิดหลักสูตรนักบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร หรือ ชลกร ในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี นำร่อง 5 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร และ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ จัดการเรียนการสอนการบริหารจัดการน้ำในทุกมิติ โดยนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาบูรณาการกับวิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา มีความรู้ ด้านการบริหารจัดการน้ำ โดย หลักสูตรชลกร รุ่นที่ 1 ระดับ ปวส. ในภาคการศึกษา 2564 มีนักเรียนสมัครเข้าเรียนเต็มจำนวนที่แต่ละวิทยาลัยรองรับได้ และนักเรียนทุกคนได้รับทุนการศึกษาเรียนฟรี ตลอดหลักสูตร 2 ปี จาก มูลนิธินโยบายสาธารณะไทย ซึ่งหลักสูตรบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร ภายใต้ สาขาวิชาช่างกลเกษตร ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการน้ำในระดับสากล

และในปี 2565 มีวิทยาลัยที่เข้าร่วมจัดการเรียนการสอนหลักสูตรชลกร รุ่นที่ 2 เพิ่มอีก 7 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุดรธานี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว และ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย รวมเป็น 12 แห่ง เพื่อรองรับผู้เรียนได้เพิ่มขึ้น โดยภารกิจภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้ สอศ. มีแผนดำเนินการขยายผล หลักสูตรนักบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร หรือ “ชลกร” สู่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ทุกแห่งทั่วประเทศ โดยจะนำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ตลอดจนการฝึกอบรมระยะสั้น รวมทั้ง การพัฒนาครูผู้สอนโดยการอบรม Train the Trainers หลักการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน เพื่อส่งเสริมและบูรณาการความรู้ด้านการบริหารทรัพยากรน้ำ โดยมี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสังกัด สอศ. เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนของแต่ละพื้นที่ อันจะเป็นการสร้างบุคลากรในการบริหารจัดการน้ำให้สามารประกอบอาชีพและดูแลชุมชนของตัวเองได้

ขณะที่ นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ มีความพร้อมที่จะดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ การลงนามบันทึกความเข้าใจการพัฒนาองค์ความรู้ด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อบูรณาการสร้างการเรียนรู้ของชุมชนในครั้งนี้ จึงเป็นการยกระดับการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการขับเคลื่อนการพัฒนาการบริหารจัดการทรัยากรน้ำอย่างยั่งยืน ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ คือ ประโยชน์สุขของประชาชน

ต่อกันที่ นายโชติ โสภณพนิช ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะไทย กล่าวว่า มูลนิธินโยบายสาธารณะไทย เล็งเห็นความสำคัญของโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ มาตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานพระราชปณิธานในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการช่วยเหลือเกษตรกร ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนของคนในชาติได้อย่างยั่งยืน และต้องการสนับสนุนความตั้งใจของ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในการขับเคลื่อนงานโดยเน้นการสร้างองค์ความรู้ให้กับนักศึกษาเพื่อให้สามารถนำมาต่อยอดและขยายผลสู่คนรุ่นต่อไปได้ โดยยังยืนยันเจตนารมณ์ของมูลนิธิโยบายสาธารณะไทยที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังที่โครงการฯ ตั้งเป้าหมายไว้ ในการสร้างประโยชน์ด้านการบริหารจัดการน้ำต่อสังคมโดยรวม

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3eKVqWT

RANDOM

โค้งสุดท้าย! พลาดไม่ได้ สำนักพิมพ์แข่งเดือด เพิ่มหมัดเด็ด ปล่อยหนังสือปกใหม่ และไอเท็มลับ พร้อมหั่นราคาถูกลงอีก ลั่น! งานนี้ไม่มีขนของกลับ! ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ สุดยิ่งใหญ่ เหลือเวลาให้มาช้อปได้ถึงวันจันทร์วันที่ 23 ต.ค.นี้ เจออีกทีปีหน้า

งานดีที่ไม่ควรพลาด สพสท เตรียมจัดประชุมวิชาการแห่งชาติ ครั้งใหญ่ ที่กาญจนบุรี 9-11 สิงหาคม 2566 นี้ มีกิจกรรม และการบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงของเมืองไทย เรียนเชิญชวนผู้สนใจติดต่อร่วมงานด่วน

NEWS

อาจารย์วิศวฯ จุฬา เผย ‘โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์’ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด เป็นพลังงานสะอาด ช่วยโลกลดการปลดปล่อยก๊าซ CO2 จากกระบวนการผลิตไฟฟ้า เพื่อก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ของประเทศ

error: Content is protected !!