Day: March 29, 2023

ม.ศรีปทุม แหล่งผลิตวิศวกรไฟฟ้าคุณภาพ สร้างสรรค์เทคโนโลยีแก้ปัญหาสังคม หนุนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของประเทศ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU) ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดด กระจายโอกาส กระจายรายได้ และนำความมั่งคั่งไปสู่ชุมชนในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง จึงมุ่งผลิตนักศึกษาที่มีคุณภาพในการประกอบอาชีพ ผ่านการเรียนรู้จากการลงมือทำจริง โดยมีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญครอบคลุมทุกองค์ความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมไฟฟ้า และได้รับการยอมรับจากภาครัฐและเอกชน ทั้งยังมีผลงานวิจัยและมีการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อต่อยอดองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง ผศ.ดร.ภรชัย จูอนุวัฒนกุล อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นผู้ที่ศึกษาและทำงานจริงด้านวิศวกรรมไฟฟ้า รวมถึงเชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอน โดยจบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาเอก ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ จาก มหาวิทยาลัยเคอร์ติน ประเทศออสเตรเลีย และเป็นผู้ที่เข้าใจระบบโซลาร์ฟาร์ม (solar farm) จนได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการร่าง TOR ระบบโซลาร์ฟาร์มของกองทุนหมู่บ้าน โดย สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (สทบ.) ผศ.ดร.ภรชัย เปิดเผยว่า วิศวกรไฟฟ้า เป็นสาขาที่สามารถทำงานในสิ่งที่จับต้องได้ และใกล้ชิดกับการใช้ชีวิตของทุกคน ซึ่งสาขานี้เติบโตอย่างมาก ตั้งแต่มีการเริ่มใช้ไฟฟ้าในศตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบัน หลากหลายอุตสาหกรรมใช้ประโยชน์จากวิศวกรรมไฟฟ้า เช่น การสื่อสาร สาธารณูปโภค เทคโนโลยี การขนส่ง และงานภาครัฐบาล วิศวกรรมไฟฟ้า เป็นสาขาวิศวกรรมสมัยใหม่ที่ใช้ฟิสิกส์ อิเล็กทรอนิกส์ และแม่เหล็กไฟฟ้า ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ หรือ …

ม.ศรีปทุม แหล่งผลิตวิศวกรไฟฟ้าคุณภาพ สร้างสรรค์เทคโนโลยีแก้ปัญหาสังคม หนุนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของประเทศ Read More »

จุฬาฯ สำเร็จไปอีกขั้น โชว์ความก้าวหน้า นวัตกรรม “เซลล์บำบัดมะเร็ง CAR-T cell” โอกาสใหม่ของผู้ป่วยมะเร็งในไทย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 17 เรื่อง “ความก้าวหน้านวัตกรรม เซลล์บำบัดมะเร็ง CAR-T cell : โอกาสใหม่ของผู้ป่วยมะเร็งของไทย” เมื่อวันอังคารที่ 28 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมสารนิเทศ หอประชุมจุฬาฯ โชว์ผลสำเร็จการวิจัยรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชาวไทย ด้วย CAR-T cell การจัดตั้งสถานที่ผลิตเซลล์ภายในโรงพยาบาลได้รับการรับรองแห่งแรกในประเทศ และนวัตกรรมการผลิต CAR T cell ที่ลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 10 เท่า โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จากความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น พิธีเปิดการเสวนา โดย ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้น …

จุฬาฯ สำเร็จไปอีกขั้น โชว์ความก้าวหน้า นวัตกรรม “เซลล์บำบัดมะเร็ง CAR-T cell” โอกาสใหม่ของผู้ป่วยมะเร็งในไทย Read More »

error: Content is protected !!