สถานีการศึกษา

นศ.การตลาดดิจิทัลฯ ม.วลัยลักษณ์ โชว์ไอเดียเจ๋ง ซิวแชมป์ Hackathon City DNA & Re-Creation 2025

นักศึกษาหลักสูตรการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ ม.วลัยลักษณ์ ฝ่าด่าน 60 ทีม จาก 20 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน Hackathon City DNA & Re-Creation 2025 ผศ.ดร.พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ รักษาการแทนคณบดีสำนักวิชาการจัดการ ม.วลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า สำนักวิชาการจัดการ ได้ส่งนักศึกษาหลักสูตรการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ เข้าร่วมการแข่งขัน Hackathon City DNA & Re-Creation 2025 เวทีเฟ้นหาแนวคิดพร้อมแผนการตลาด เพื่อนำทุนทางวัฒนธรรมผสานกับอัตลักษณ์ของเมืองนำไปสู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์ โดยมีทีมนักศึกษากว่า 60 ทีม จาก 20 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ส่งผลงานเข้าร่วม หลังจากนั้น ทำการคัดเลือกให้เหลือเพียง 25 ทีม เข้าค่าย Bootcamp ทำเวิร์กชอป โดยมีผู้เชี่ยวชาญเติมเต็มให้ความรู้ จากนั้นในรอบสุดท้ายคัดเหลือเพียง 6 ทีม ให้นำเสนอสินค้าและบริการ(Pitching) พร้อมแผนการตลาดฯ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 กุมภาพันธ์ 2568 …

นศ.การตลาดดิจิทัลฯ ม.วลัยลักษณ์ โชว์ไอเดียเจ๋ง ซิวแชมป์ Hackathon City DNA & Re-Creation 2025 Read More »

พลิกขยะชีวมวลสู่ “ลิกนิน” นวัตกรรมเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยให้ยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการไทยในหลากหลายอุตสาหกรรม

ในปัจจุบันปัญหาขยะชีวมวลกำลังกลายเป็นวิกฤตสำคัญ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่เศรษฐกิจพึ่งพาภาคการเกษตรเป็นอย่างมาก ชีวมวลจากชานอ้อย ฟางข้าว ปาล์มน้ำมัน และเศษวัสดุทางการเกษตรจำนวนมหาศาลถูกเผาทำลายหรือทิ้งไปโดยไร้ประโยชน์ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเป็นที่มาของ โครงการการพัฒนากระบวนการบำบัดชีวมวล เพื่อแยกส่วนและตกตะกอนลิกนินบริสุทธิ์ เป็นผลงานวิจัยร่วมระหว่าง ศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ ดร.ชญานนท์ โชติรสสุคนธ์ นักวิจัยกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรี่และชีวภาพ (IBBG) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) “ชีวมวลไม่ใช่ของเสีย แต่คือทรัพยากรสำคัญที่สามารถแปรรูปให้เกิดประโยชน์สูงสุด เราต้องการสร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม” ศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ ในฐานะหัวหน้าโครงการ กล่าว ปัจจุบันชีวมวลถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบ เช่น การแปรรูปเป็นพลังงาน หรือ การสกัดองค์ประกอบสำคัญอย่างเซลลูโลส เพื่อนำไปผลิตเยื่อกระดาษ อย่างไรก็ตาม ชีวมวลยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ถูกมองข้าม หนึ่งในนั้น คือ ลิกนิน (Lignin) ซึ่งมีอยู่มากถึง 20% ของชีวมวล และมีศักยภาพสูงในการนำไปใช้ประโยชน์ “ลิกนิน เป็นองค์ประกอบสำคัญในชีวมวลลิกโนเซลลูโลส มีคุณสมบัติพิเศษ …

พลิกขยะชีวมวลสู่ “ลิกนิน” นวัตกรรมเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยให้ยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการไทยในหลากหลายอุตสาหกรรม Read More »

เชิญครูอาจารย์และผู้สนใจ เยือน “อาร์มี่แลนด์” ศูนย์เรียนรู้ทหารพันธุ์ดี ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ จ.พิษณุโลก ต้นแบบแหล่งผลิตพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ในโครงการ “ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 49” วันที่ 1 – 2 มีนาคม นี้

ทิพยประกันภัย ขอเชิญชวนร่วมโครงการทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 49 ศึกษาแนวคิดศาสตร์พระราชาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ณ โครงการ “ทหารพันธุ์ดี ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ” เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน สอดคล้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการพึ่งพาตนเอง พร้อมศึกษาประวัติศาสตร์สำคัญของประเทศไทย ณ ศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ จังหวัดพิษณุโลก เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ซึมซับบทเรียนจากอดีต อันเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างสำนึกความรักชาติและจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม อีกทั้งยังได้รับฟังการบรรยายพิเศษจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และ กิจกรรม Workshop ถอดรหัสนวัตกรรมศาสตร์พระราชา เรียนรู้ผ่านสื่อ Interactive Board Game หนึ่งเดียวในโลก เพื่อผลักดันให้เกิดนวัตกรรมแบบก้าวกระโดด และเตรียมความพร้อมประเทศไทยสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายในปี 2030 ทั้งนี้ โครงการทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 49 จะจัดขึ้น ในวันที่ 1 – 2 มีนาคม 2568 ณ กองทัพน้อยที่ 3 ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ จังหวัดพิษณุโลก …

เชิญครูอาจารย์และผู้สนใจ เยือน “อาร์มี่แลนด์” ศูนย์เรียนรู้ทหารพันธุ์ดี ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ จ.พิษณุโลก ต้นแบบแหล่งผลิตพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ในโครงการ “ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 49” วันที่ 1 – 2 มีนาคม นี้ Read More »

สสวท. จัดอบรมครูธรณีวิทยาขั้นกลาง หนุนกิจกรรมการเรียนรู้ด้านธรณีวิทยา พัฒนาทักษะเข้ม วันที่ 12 – 14 มี.ค. ณ โรงแรมพาลาสโซ กรุงเทพฯ รับจำนวนจำกัด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เชิญครูผู้สนใจสมัครอบรมเชิงปฏิบัติการด้านธรณีวิทยาขั้นกลาง เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ด้านธรณีวิทยา ที่เน้นพัฒนาทักษะกระบวนการสังเกต รวบรวมข้อมูล แปลความหมาย และวิเคราะห์ข้อมูลทางธรณีวิทยาในพื้นที่เชื่อมโยงกับการใช้ประโยชน์ ส่งเสริมให้ครูมีแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน กระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์การเรียนรู้ธรณีวิทยา และใช้ความรู้ในการดำรงชีวิตได้ รับสมัครจำนวนไม่เกิน 30 คน โดยถือลำดับการส่งใบสมัครและสถานะการยืนยันสิทธิ์เข้าร่วมอบรมเป็นสำคัญ อบรมวันที่ 12 – 14 มีนาคม 2568 ที่ โรงแรมพาลาสโซ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ โดยมีการฝึกปฏิบัติการภาคสนามใน 4 ภูมิภาค ผู้รับการอบรมจะได้ฝึกภาคสนาม 1 ภูมิภาค ดูรายละเอียดและดาวน์โหลดเอกสารที่ https://www.facebook.com/share/p/1HGSFhsTrB/ สอบถามเพิ่มเติมที่ คุณกมลพรรณ เขมะโร โทร. 089-110-0198 อีเมล ttroo@ipst.ac.th

ครบรอบ 30 ปี “ฟีโบ้” ชู Robotics for Sustainable Future หุ่นยนต์เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน โชว์ศักยภาพด้านวิทยาการหุ่นยนต์ของประเทศไทย พร้อมก้าวสู่ “One of the Most Attractive Robotics Institutes in ASEAN” ภายใน ปี 2027

เนื่องในโอกาสครบรอบ 65 ปี แห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ 30 ปี แห่งการก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) ในการนี้ ฟีโบ้ จึงได้จัดกิจกรรมพิเศษ ภายใต้หัวข้อ “30 ปี ฟีโบ้ : Robotics for Sustainable Future” เพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จ และแสดงศักยภาพของประเทศไทยในด้านวิทยาการหุ่นยนต์และนวัตกรรมที่น่าสนใจ และกำลังเป็นกระแส รวมถึงการจัดแสดงผลงานตัวอย่างหุ่นยนต์ล้ำสมัย และนิทรรศการในรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟ โดยจัดขึ้น ณ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) ระหว่างวันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา ผศ.ดร.สุภชัย วงศ์บุณย์ยง ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2538 ฟีโบ้ ได้ก่อตั้งขึ้น เป็นศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาหุ่นยนต์ภาคสนาม โดย ดร.ชิต เหล่าวัฒนา มีพันธกิจด้านการพัฒนางานวิจัย และบริการวิชาการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 …

ครบรอบ 30 ปี “ฟีโบ้” ชู Robotics for Sustainable Future หุ่นยนต์เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน โชว์ศักยภาพด้านวิทยาการหุ่นยนต์ของประเทศไทย พร้อมก้าวสู่ “One of the Most Attractive Robotics Institutes in ASEAN” ภายใน ปี 2027 Read More »

สสวท. พารอบรู้เรื่องน้ำมันเชื้อเพลิง กับ “ทำความรู้จักน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กับรถยนต์”

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พารอบรู้เรื่องราวของน้ำมันเชื้อเพลิง กับ “ทำความรู้จักน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กับรถยนต์” ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น หมายถึง ของเหลวที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ หลังจากนั้นจึงนำมาปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะสมต่อการใช้งาน เพื่อใช้เผาให้เป็นพลังงานสำหรับขับเคลื่อนเครื่องยนต์ เครื่องเทอร์ไบน์ หรือ ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ต้มน้ำในหม้อไอน้ำใช้ในโรงงานเซรามิก ให้แสงสว่าง และใช้ทำความร้อน เป็นต้น เรียนรู้ที่มาการใช้งาน รวมทั้งประเภทของน้้ามันที่ขายตามท้องตลาดทั่วไป เสริมความเข้าใจได้ที่คลังความรู้ SciMath สสวท. https://www.scimath.org/article-science/item/7473

สสวท. เปิดรับสมัคร ‘ทุนโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ประเภท 2 ระดับปริญญาโท ปีการศึกษา 2568 รอบ 2 ผู้สนใจสมัครได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 26 มีนาคม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) รับสมัครคัดเลือกทุนโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ประเภท 2 ระดับปริญญาโท ปีการศึกษา 2568 รอบ 2 โดยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิตในปีการศึกษา 2562 – 2567 สาขาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ สาขาที่เกี่ยวข้อง หรือ เป็นผู้ที่กำลังสำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต ในปีการศึกษา 2567 สาขาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ สาขาที่เกี่ยวข้อง สมัครได้ตั้งแต่ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ – 26 มีนาคม 2568 ดูรายละเอียดที่ https://www.ipst.ac.th/unit-psmt#scholarship หรือ https://www.ipst.ac.th/unit-psmt สอบถามเพิ่มเติมที่ psmt@ipst.ac.th หรือ โครงการ สควค. โทร. 02-392-4021 ต่อ 3354, 3358

กองทุนพัฒนาสื่อฯ ประกาศรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรม เพื่อขอรับการสนับสนุนเงิน ประจำปี 2568 วงเงินงบประมาณ 300 ล้านบาท

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประกาศเปิดรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรม เพื่อขอรับการสนับสนุนเงิน ประจำปี 2568 วงเงินงบประมาณ 300 ล้านบาท ทั้งนี้ กองทุนพัฒนาสื่อฯ ได้กำหนดประเภท เเนวทาง หรือ ลักษณะโครงการ หรือ กิจกรรม ที่จะให้การสนับสนุน ประจำปี 2568 โดยมีรายละเอียดดังนี้ – ทุนประเภทเปิดรับทั่วไป (Open Grant) วงเงินไม่เกิน 90 ล้านบาท – ทุนประเภทเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Grant) วงเงินไม่เกิน 170 ล้านบาท – ทุนประเภทความร่วมมือ (Collaborative Grant) วงเงินไม่เกิน 40 ล้านบาท อ่านประกาศได้ที่ https://shorturl.asia/gsNTO ยื่นข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรมได้ทาง https://granting.thaimediafund.or.th/login.html ตั้งแต่วันที่ 1 – 31 มีนาคม 2568 ภายในเวลา 16.30 น. อ้างอิงจาก …

กองทุนพัฒนาสื่อฯ ประกาศรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรม เพื่อขอรับการสนับสนุนเงิน ประจำปี 2568 วงเงินงบประมาณ 300 ล้านบาท Read More »

55 ปี สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โครงการหลวงแห่งแรก ต้นแบบการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน

จากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 1,500 บาท แลกกับผืนดินบนดอยอ่างขาง เกิดเป็นโครงการหลวงแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงผืนดินขนาดใหญ่ที่เคยเป็นไร่ฝิ่น และป่าเสื่อมโทรม กลับกลายเป็นสวนสวรรค์แห่งพืชพรรณเมืองหนาว และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของภาคเหนือ หนึ่งในสถานที่ที่คนทั่วโลกอยากมาเยือนมากที่สุด ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเพื่อสืบสานพระราชปณิธานแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) จึงได้จัดโครงการ “ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา” ครั้งที่ 48 เพื่อนำคณะครูอาจารย์ และผู้สนใจ เดินทางมาเรียนรู้ต้นแบบแห่งความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่สูงของประเทศไทย ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ และเป็นการเผยแพร่ศาสตร์พระราชา เศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนนได้รับรู้ในวงกว้าง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน นางวิชชุดา ไตรธรรม ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ไม่เพียงเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการหลวง แต่ยังเป็นบทพิสูจน์ความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน ที่สามารถเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวไทยภูเขา จากที่เคยพึ่งพารายได้จากการปลูกพืชเสพติด สู่การเพาะปลูกพืชเมืองหนาว ที่มีมูลค่าสูง สร้างรายได้อย่างมั่นคง ที่นี่คือแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต ที่แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนต้องเริ่มจากการเข้าใจ เข้าถึง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ โดยคำนึงถึงทั้งมิติทางเศรษฐกิจ …

55 ปี สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โครงการหลวงแห่งแรก ต้นแบบการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน Read More »

มวล. เปิดตัวเส้นทางท่องเที่ยวสายมู “Infinity Rich รวยไม่รู้จบ@สิชล” กระตุ้นท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่ชุมชน

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดตัวเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ “Infinity Rich รวยไม่รู้จบ” เชื่อมโยง 8 จุดท่องเที่ยวสำคัญของอ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช และพื้นที่ใกล้เคียง ใช้วัดเจดีย์เป็นศูนย์กลางพื้นที่ทางวัฒนธรรม ชวนนักท่องเที่ยวสายมู สัมผัสประสบการณ์เสริมสิริมงคล กระตุ้นการท่องเที่ยวให้คึกคัก พร้อมกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน บพท.ร่วมหนุน รศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ รองอธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ (มวล.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 31 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ วัดเจดีย์ (ไอ้ไข่) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครศรีธรรมราช องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาในพื้นที่ ชุมชนท้องถิ่น และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เปิดตัวพื้นที่ทางวัฒนธรรมสันทรายโบราณ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช และเส้นทางการท่องเที่ยว “Sichon Spiritual Trip : Heal Heart, Heal Life and …

มวล. เปิดตัวเส้นทางท่องเที่ยวสายมู “Infinity Rich รวยไม่รู้จบ@สิชล” กระตุ้นท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่ชุมชน Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!