นักวิจัย ม.วลัยลักษณ์ คิดค้นผลิตถ่านกัมมันต์เก็บประจุไฟฟ้าจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ เพิ่มมูลค่าชีวมวลไม้ยางพาราไทย
นักวิจัย ม.วลัยลักษณ์ คิดค้นถ่านกัมมันต์เพื่อเป็นตัวเก็บประจุไฟฟ้ายิ่งยวด จากขี้เลื่อยไม้ยางพารา ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ เพิ่มมูลค่าชีวมวลไม้ยางพาราไทย พร้อมตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุเทน ทับทรวง อาจารย์ประจำสาขาวิชาปิโตรเคมีและพอลิเมอร์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์พลังงานในปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่พลังงานสะอาด เช่น พลังงานไฟฟ้า ซึ่งอุปกรณ์กักเก็บพลังงานไฟฟ้า เช่น ตัวเก็บประจุยิ่งยวด หรือ แบตเตอรี่ มีแนวโน้มเป็นที่ต้องการมากขึ้น และตัวแปรสำคัญของอุปกรณ์กักเก็บประสิทธิภาพสูง คือ วัสดุขั้วอิเล็กโทรด ถ่านกัมมันต์ หรือ ถ่านคาร์บอน จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นขั้วอิเล็กโทรด และปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้าถ่านกัมมันต์เกรดตัวเก็บประจุยิ่งยวดมาจากต่างประเทศ ซึ่งทำจากขี้เลื่อยไม้สน มีราคาประมาณกิโลกรัม ละ 2,500 บาท โดยมูลค่าตลาดโลกของถ่านกัมมันต์เกรดตัวเก็บประจุยิ่งยวด ในปี 2020 อยู่ที่ประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี และ ในปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกถ่านกัมมันต์มากกว่า 880 ล้านบาท และนำเข้ากว่า 2,000 ล้านบาท …