สพฐ. จัดงาน MOE Mini Hackathon 2022 แก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ จากการเรียนออนไลน์ ช่วงโควิด 19

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

วันที่ 25 เมษายน 2565 ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการแข่งขัน MOE Mini Hackathon 2022 ณ โรงแรมรอยัล ริเวอร์ กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.นิพนธ์ ก้องเวหา ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. พร้อมด้วย ผู้บริหาร สพฐ. เข้าร่วมงานในครั้งนี้

ดร.อัมพร พินะสา ได้กล่าวถึงที่มาและความสำคัญของการจัดแข่งขันครั้งนี้ว่า น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีความห่วงใยนักเรียนที่เกิดปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ หรือ Learning Loss จากการเรียนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 จึงมีนโยบายให้กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จับมือกับ เครือข่ายครูรุ่นใหม่ และภาคเอกชน ที่ให้ความ สำคัญเรื่องการศึกษา รวมถึงสตาร์ทอัพด้านการศึกษา (EdTech) จัดงาน MOE Mini Hackathon 2022 ขึ้น ระหว่างวันที่ 25 – 27 เมษายน 2565 เพื่อเฟ้นหานวัตกรรมแก้ไขปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ หรือ Learning Loss ที่สามารถนำไปขยายผลการทำงานร่วมกันในอนาคต โดยการใช้วิธีการ Hackathon ซึ่งเป็นการสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน ที่จะทำให้ได้คำตอบของปัญหาอย่างรวดเร็ว นั่นคือ วิธีการแก้ปัญหาและการนำวิธีการแก้ปัญหาไปขยายผลสู่ความสำเร็จ ซึ่งผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะได้รู้จักและเข้าใจปัญหา Learning Loss ได้เรียนรู้การ Brainstorm ระดมความคิด การคิดอย่างสร้างสรรค์ ฝึกฝนการนำเสนอผลงาน รวมถึงได้รับฟังไอเดียการแก้ปัญหา จาก ทีม showcase 12 ทีม โดยมี Mentor คอยดูแลเป็นที่ปรึกษาตลอดการแข่งขัน

ซึ่งงาน MOE Mini Hackathon 2022 ในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนเป็นอย่างดี ได้แก่ คุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน Kasikorn Business-Technology Group บริษัทเทคโนโลยี ในเครือธนาคารกสิกรไทย เจ้าของฉายา “นักปั้น” จนถึง “Godfather of Thai Tech Startup” ที่ได้ให้คำปรึกษา แนะนำกระบวนการ Hackathon และเป็นวิทยากรในครั้งนี้ อีกทั้ง ช่วยระดมภาคเอกชน ได้แก่ ทีม ดิสรัปท์ เทคโนโลยี เวนเจอร์ , เอ็ดไวซอรี่ , mappa , เพจ Toolmorrow , Starfish Education รวมถึงคุณหมอกุมารแพทย์และนักจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น มาเป็นทีมวิทยากร และ MENTORS เพื่อให้ความรู้และเป็นพี่เลี้ยง เป็นที่ปรึกษาแก่ผู้เข้าแข่งขันทุกคน นอกจากนี้ ยังเป็นการรวมตัวกันของภาครัฐและภาคเอกชนที่คร่ำหวอดในวงการศึกษา มาร่วมเป็นทีม showcase นำเสนอไอเดียสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา Learning loss จำนวน 12 ทีม และคนรุ่นใหม่ของ สพฐ.ที่จะนำไอเดียนั้น ไป Hackathon เพื่อต่อยอดความคิด พร้อมสร้างสรรค์วิธีการขยายผลสู่ความสำเร็จต่อไป โดย สพฐ. จะดำเนินการถ่ายทอดสดการแข่งขันตลอดระยะเวลา 3 วัน ซึ่งสามารถร่วมรับชมได้ผ่านทางเพจ Facebook และ YouTube ของ OBEC Channel

ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งหวังว่า หลังจากได้วิธีการแก้ปัญหา Learning Loss รวมทั้งวิธีการขยายผลสู่ความสำเร็จ ก็จะร่วมมือกับภาคเอกชน เครือข่ายผู้ปกครอง ครู และสถานศึกษา ในการช่วยกันผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างแท้จริงต่อไป

RANDOM

จุฬาฯ จับมือ University of Sheffield ประเทศอังกฤษ ตั้งศูนย์วิจัยการผลิตวัคซีนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มุ่งพัฒนาวัคซีนคุณภาพสูง ตอบสนองการรักษาโรคที่แพร่ระบาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

NEWS

มาแล้วหัวเรือใหม่กีฬา ‘นายกเศรษฐา’ มอบหมายและมอบอำนาจให้ ‘สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ กำกับดูแลกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมเป็นประธานบอร์ด กกท.และบอร์ด กองทุนกีฬา แบบเบ็ดเสร็จ

‘อ.เค้ก’ ไพบูลย์ ศรีชัยสวัสดิ์ ภาคภูมิใจ หลังถูกเลือก จากคณะมวยของโอลิมปิกสากล ให้ทำหน้าที่กำกับ-ประเมิน ผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสินมวยสากลสู่โอลิมปิกเกมส์ 2024 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพ เลก ที่2

error: Content is protected !!