เปิดตัว…ศูนย์กลางการเรียนรู้อาเซียน-กรุงเทพมหานคร วิทยาลัยจีนโพ้นทะเล ศูนย์สาขามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หนุนส่งเสริมการศึกษาระหว่างไทย-จีน ทุกมิติ

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเปิดฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน จัดตั้ง ศูนย์กลางการเรียนรู้อาเซียน-กรุงเทพมหานคร วิทยาลัยจีนโพ้นทะเล ศูนย์สาขามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อแลกเปลี่ยนและประสานความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างจีน-ไทย รวมทั้งส่งเสริมนโยบาย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง One Belt, One Road” ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีพิธีเปิดและลงนามความร่วมมือ ณ ห้องประชุมศรีธรรมราช อาคารปฏิบัติการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผ่านระบบประชุมออนไลน์ ณ หอประชุม อาคาร Bohou มหาวิทยาลัยเปิดฝูเจี้ยน วิทยาเขตกุ้ยชาน สาธารณรัฐประชาชนจีน

รศ.ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเปิดฝูเจี้ยน จัดตั้งศูนย์กลางการเรียนรู้อาเซียน-กรุงเทพมหานคร วิทยาลัยจีนโพ้นทะเล ศูนย์สาขามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและเสริมสร้างทักษะความรู้ ความสามารถในระดับสากลให้แก่ผู้เรียน ทั้งในรูปแบบปริญญาบัตรและประกาศนียบัตรในศาสตร์สาขาต่าง ๆ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนทางด้านภาษาและวัฒนธรรมไทย-จีน การประสานความร่วมมือด้านการวิจัย และการแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง One Belt, One Road” และยุทธศาสตร์ “Thailand 4.0” ซึ่งมหาวิทยาลัยเปิดฝูเจี้ยน ได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้นำในด้านการศึกษาทางไกล และการศึกษาตลอดชีวิต รวมทั้งการศึกษาชุมชนในประเทศจีน โดยมีนักศึกษาจากทั่วทุกมุมโลก และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ

จากนั้น รศ.ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ Mr.Wu Guorong อธิการบดีมหาวิทยาลัยเปิดฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน และคุณสุทธิกร เจียรไพฑูรย์ บริษัท โอเพ่น เอ็ดยูเคชั่น กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อร่วมกันจัดตั้งศูนย์กลางการเรียนรู้อาเซียน-กรุงเทพมหานคร วิทยาลัยจีนโพ้นทะเล ศูนย์สาขามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างจีน-ไทย ค้นหารูปแบบใหม่ของความร่วมมือทางการศึกษาระบบเปิดระหว่างจีนและไทยในยุคหลังโควิด-19 โดยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้มีระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่ลงนาม

RANDOM

error: Content is protected !!