สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เชิญชวนน้อง ๆ นักเรียนทั่วประเทศ เข้าร่วม “การประกวดภาพถ่ายพร้อมบรรยายเรื่องราว” ในหัวข้อ “ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ชิงทุนการศึกษา และเกียรติบัตร
ประเภทการประกวด
ภาพถ่ายพร้อมบรรยายเรื่องราว
หัวข้อการประกวด
ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รูปแบบกิจกรรม
ออนไลน์
ระยะเวลาการประกวด
– รับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 8 สิงหาคม 2568 (เวลา 16.00 น.)
– ประกาศผลคัดเลือก 15 ภาพสุดท้าย ในวันพุธ ที่ 13 สิงหาคม 2568
– วันแสดงผลงานรอบตัดสิน วันอาทิตย์ ที่ 17 สิงหาคม 2568
ผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการประกวด
1. เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือตอนปลาย
2. นักเรียนสามารถรวมทีม 1 – 3 คน โดยอาจเป็นทีมผสมระหว่างนักเรียนมัธยมต้นและปลายได้
ขนาดของภาพถ่ายและเงื่อนไขการสมัครเข้าร่วมประกวด
1. ผู้สมัครส่งภาพถ่ายพร้อมคำบรรยาย ตามหัวข้อที่กำหนดเท่านั้น
2. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด เป็นภาพที่ถ่ายด้วยตนเอง โดยใช้กล้อง Digital ในทุกรูปแบบ (DSLR, Mirrorless, Compact หรือ Smartphone)
3. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นลิขสิทธิ์ของผู้สมัคร ห้ามใช้ภาพที่เป็นลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ห้ามทำซ้ำ ดัดแปลง เลียนแบบภาพถ่ายของบุคคลอื่น หรือนำภาพของผู้อื่นมาส่ง หรือส่งในนามผู้อื่นโดยเด็ดขาด ผู้ที่ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดจะต้องรับรองว่าภาพถ่ายที่ถูกส่งเข้าประกวดนั้น เป็นภาพถ่ายที่ตนเองเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ทั้งนี้ หากมีบุคคลที่สาม กล่าวอ้างว่าภาพถ่ายที่ผู้เข้าประกวดได้ส่งเข้าประกวดนั้น มีการละเมิดต่อกฎหมายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และ หากภาพที่ได้รับรางวัลเกิดขึ้นจากการละเมิดต่อกฎหมาย หรือ ละเมิดต่อสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น จนนำไปสู่การร้องเรียน หรือ ฟ้องร้องทางกฎหมายจากภาครัฐ เอกชน หรือ บุคคลธรรมดาอันเป็นผลทำให้ไม่สามารถนำภาพที่มีปัญหาไปใช้งานได้ ทางคณะกรรมการจัดการประกวดมีสิทธิ์ประกาศยกเลิกผลการตัดสินของภาพนั้น ๆ รวมถึงมีสิทธิ์ในการเรียกรางวัลคืนจากผู้ที่ได้รับรางวัล แม้ว่าทางคณะกรรมการจัดการประกวดจะได้ทำการตัดสินไปแล้วก็ตาม ผู้ที่ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแต่เพียงผู้เดียว โดยที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะไม่รับผิดชอบใด ๆ ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น
4. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด ต้องเป็นไฟล์ภาพสี หรือขาวดำ แนวนอน หรือแนวตั้ง ก็ได้
5. ภาพที่ส่งมาต้องมีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 1280 x 720 พิกเซล มิฉะนั้นจะไม่ผ่านการพิจารณา
6. รูปแบบไฟล์ .jpg
7. ขนาดไฟล์ของภาพถ่ายไม่ควรเกิน 300 เมกะไบต์ (MB)
8. ต้องรักษาภาพต้นฉบับ (ไฟล์ RAW) ไว้แสดงในกรณีมีการเรียกตรวจสอบ หากเกิดกรณีมีการประท้วงในการทำผิดกติกา
9. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด สามารถปรับแต่งภาพถ่ายได้ตามความเหมาะสม รวมถึงอนุญาตให้ใช้เครื่องมือ AI ในการแต่งภาพได้
10. ต้องมีคำบรรยายของแต่ละภาพไม่ต่ำกว่า 150 ตัวอักษร (words) รูปแบบไฟล์ .pdf ใช้ชุดแบบอักษรมาตรฐาน TH-Sarabun PSK ขนาด 16 พอยท์ (pt) โดยคำบรรยายต้องมีความสอดคล้องกับภาพ เชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือแสดงถึงสาระความรู้ แรงบันดาลใจทางด้านวิทยาศาสตร์ ตามจินตนาการ และมีความเป็นเหตุเป็นผล สามารถใช้เครื่องมือ AI ช่วยในการเขียนได้
ข้อมูลผู้สมัคร
1. ชื่อ – สกุล ผู้สมัคร
2. ชื่อโรงเรียน และจังหวัด
3. ระดับชั้นที่กำลังศึกษาอยู่
4. หมายเลขโทรศัพท์ และ email ผู้สมัครทุกคน
5. ชื่อ ครูที่ปรึกษา (ถ้ามี)
6. email ครูที่ปรึกษา (ถ้ามี)
การแสดงผลงานรอบตัดสิน
1. ผู้สมัครที่ผ่านเข้ารอบ 15 ภาพสุดท้าย นำเสนอผลงานในวันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น. ผ่าน Zoom Meeting (จะแจ้งอีกครั้งภายหลังทางอีเมล)
2. กรณี นักเรียนติดภารกิจ ไม่สามารถนำเสนอในวันและเวลาดังกล่าว ถือว่าสละสิทธิ์
การส่งผลงาน
1. ส่งผลงานโดยกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ผ่านลิงก์ google form
2. ส่งไฟล์ .pdf จำนวน 1 ไฟล์ ประกอบด้วยรายละเอียด ดังตัวอย่าง
– ชื่อ – สกุล ผู้สมัคร ระดับชั้นที่กำลังศึกษาอยู่ ชื่อโรงเรียน จังหวัด
– ชื่อผลงาน
– ภาพถ่าย วางภาพในตำแหน่งความสูงของภาพ ไม่เกินครึ่งหน้ากระดาษ A4
– คำบรรยายไม่ต่ำกว่า 150 words โดยมีองค์ประกอบ เช่น ที่มาและความสำคัญ สมมติฐาน หลักการทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
– กรณี มากกว่า 1 หน้า ให้ระบุเลขหน้า
*หมายเหตุ ไฟล์รูปภาพ ให้ส่งเฉพาะผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือก 15 ภาพสุดท้าย (วันที่ 9 สิงหาคม 2567)
การพิจารณาคัดเลือกและตัดสินภาพถ่าย และการประกาศผล
คณะกรรมการตัดสิน ประกอบด้วย คณาจารย์สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญการถ่ายภาพจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะพิจารณาผลงานโดยเน้นที่แนวคิด การนำเสนอ และความคิดสร้างสรรค์ ปัจจัยสำคัญ คือ ความสามารถในการสื่อสารแนวคิดเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความสอดคล้องระหว่างภาพและคำบรรยาย ตลอดจนความถูกต้องของเนื้อหาและมุมมองที่แปลกใหม่
รางวัลการประกวด
– รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 1000 บาท พร้อมเกียรติบัตรอิเล็กทรอนิกส์
– รองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้รับเงินรางวัล 700 บาท พร้อมเกียรติบัตรอิเล็กทรอนิกส์
– รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้รับเงินรางวัล 500 บาท พร้อมเกียรติบัตรอิเล็กทรอนิกส์
– รางวัลชมเชย 5 รางวัล ได้รับเกียรติบัตรอิเล็กทรอนิกส์
– รางวัล popular vote ได้รับเงินรางวัล 300 บาท พร้อมเกียรติบัตรอิเล็กทรอนิกส์
*หมายเหตุ
– ผู้ส่งผลงานเข้าสมัครทุกคนจะได้ใบเกียรติบัตร (electronics) การเข้าร่วม
– ครูที่ปรึกษาจะได้รับเกียรติบัตร (electronics) เมื่อนักเรียนได้รับรางวัล หรือ ผ่านเข้ารอบ 15 ภาพสุดท้าย
สมัครแข่งขันได้ที่ https://shorturl.asia/Hmj7k
อ้างอิงจาก https://shorturl.asia/lugSA